ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

(มีคลิป) “วัดศรีสุพรรณ” พุทธาภิเษก “ตาแหลว” ป้องกันแคล้วคาดจากภัยทั้งปวง คนจีนแห่จองเกลี้ยงวัด

“วัดศรีสุพรรณ” พุทธาภิเษก “ตาแหลว” ป้องกันแคล้วคาดจากภัยทั้งปวง คนจีนแห่จองเกลี้ยงวัด

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 67 ที่อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ภายในวัดศรีสุพรรณ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษก “ตาแหลว” วัตถุมงคลของฝากของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาและวัฒนธรรม โดยมีนายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รอง ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี จุดเทียนชัย มีการแสดงฟ้อนและกลองสมโภช มีพิธีหลอมมวลสาร เงิน ทองนาก ในการทำตาแหลว จากนั้นทางเกจิอาจารย์ล้านนา นำโดยหลวงปู่ ครูบาดวงจันทร์ เขมรโต,พระครูประภัศร์ธรรมรังสี(ครูบาจันต๊ะรังษี)

พระสมุห์ณรงค์ศักดิ์ฐิติโสภโณ และพระครูอดุลสีลกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ จ.เชียงใหม่ ปราชญ์ด้านวรรณกรรมล้านนา/ปราชญ์แห่งพิธีกรรมล้านนาสวดอธิษฐานจิตตำรา ตาแหลวล้านนา โดยในพิธีพุทธาภิเษก มีตาแหลว ทองคำ จำนวน 300 อัน ตาแหลวเงินจำนวน 2,567 อัน และตาแหลวนาก จำนวน 2,567 อัน สำหรับตาแหลวทองคำและตาแหลวเงิน มีกลุ่มสายมูเตลู ชาวจีนสั่งจองจนหมดเกลี้ยงทันที

พระครูพิทักษ์สิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ได้เเผยว่าตาแหลว เป็นภูมิปัญหาชาวล้านนาได้สืบทอดกันมายาวนานเป็นร้อยๆปีซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำให้ผู้ที่ครอบครองเป็นเจ้าของพ้นจากสิ่งอัปมงคลชั่วรายทั้งหลายทั้งปวงโดยเฉพาะช่วงปีใหม่ทางชาวล้านนาจะทำตาแหลวที่สานด้วยไม้ไผ่นำมาแขวนไว้ที่หน้าบ้านเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย แต่ในวันนี้่คณะกรรมการได้ทำตาแหลวจากความเชื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายมาทำแบบห้อยคอเป็นสิ่งมงคลและมีการทำพิธีพุทธาภิเษกไว้ป็นที่ระลึกก็ขออนุโมทณาให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญปราศจากสิ่งอัปมงคลทั้งหลายด้วยเทอญ

สำหรับ “ตาแหลว” ในภาษาเหนือหมายถึง ตาเหยี่ยว เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมตามความเชื่อของคนล้านนา เพื่อแสดงอาณาเขตที่มีเจ้าของ เขตหวงห้าม และยังเชื่อว่าจะสามารถปกป้องพื้นที่นั้นให้คลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวงใ ชาวบ้านล้านนา “ตาแหลว” จะทำจากไม้ไผ่ที่จักเป็นตอกแผ่นบาง สานให้เป็นรูปดวงตาเหยี่ยวมีหลายรูปแบบมาแขวนไว้ตามหน้าบ้าน แต่ในครั้งนี้ได้มีพิธีพุทธภิเษกหล่อหลอมทำเป็นตาแหลว เนื้อทอง เนื้อเงิน และนากเพื่อใช้สำหรับห้อยคอตามความเชื่อ ซึ่งกลายเป็นวัตถุมงคลที่นักท่องเที่ยวสายมูชาวจีนต้องการเป็นอย่างยิ่งถึงกับสิ่งจองไว้หลังทำพิธีเสร็จส่งทางเครื่องบินไปต่างประเทศจำนวนมาก.