ศรีสะเกษ !! ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดป้ายพระเจดีย์วีระเขตมงคลธาตุ ชาติเมธากุล นายกฯท่องเที่ยวศรีสะเกษตื่นตลึงความงามล้ำค่าของเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์
เมื่อวันที่ 15 ตุลา 2566 ที่วัดสุพรรณรัตน์ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ นายวิวัฒน์ไชย โหตระไวศยะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและเปิดป้ายพระเจดีย์วีระเขตมงคลธาตุ ชาติเมธากุล โดยมี ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยว ดร.ชไมมาศ ชาติเมธากุล ประธานบริษัท คริสติน่า (ประเทศไทย) นำพุทธศาสนิกชนในเจตพื้นที่ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และชาวพุทธทั่วประเทศร่วมประกอบพิธีเป็นจำนวนมาก โดยได้รับความเมตตาจากพระวัชรญาณมุณี หรือพระอาจารย์เทียนชัย ชยทีโป เจ้าอาวาสวัดเทพสรธรรมาราม (บาย ตึ๊ก เจีย) จ.ปทุมธานี และพระครูศรีโพธาลังการ (แสวง พุทฺธิญาโณ ป.ธ.๖). วัดโพธิ์น้อย เป็นประธาน ฝ่ายสงฆ์
ดร.ชไมมาศ ชาติเมธากุล กล่าวว่า ได้สร้างพระเจดีย์วีรเขตมงคลธาตุ ชาติเมธากุล เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 9 ปี ด้วยจิตศรัทธาที่ต้องการตอบแทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด โดยการสร้างพระเจดีย์ถวายแด่บูรพาจารย์ ที่นับถือและชาวจังหวัดศรีสะเกษ แต่เดิมบริเวณก่อสร้างนี้เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าร้อยปี และมีเรื่องเล่าขานกันว่าเคยเป็นที่อยู่ของพญานาค เพื่อปกป้องคุ้มครองชาวบ้านบริเวณนี้ให้พันจากภยันตรายต่างๆ
ได้สร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชุมชนแห่งนี้ และพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้พระเจดีย์วีรเขตมงคลธาตุ ชาติเมธากุล ยังเป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้น เพื่อถวายแด่พระเทพวรมุนี (วิบูลย์ กลุยาโณ) อดีดเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษและอดีตเจ้าอาวาสวัดสุพรรณรัตน์ (บ้านพราน) ด้วยสำนึกในพระคุณ ที่ท่านได้มีคุณูปการอันมากมายต่อวงการศาสนาและวงการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษ
ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ กล่าวว่า เป็นบุญของชาวจังหวัดศรีสะเกษที่มีผู้มีบุญคือคุณชไมมาศมาลงทุนสร้างพระเจดีย์ล้ำค่าที่ทรงคุณค่าในด้านความงามและความศักดิ์สิทธิ์ แสดงถึง อิทธิฤทธิ์ ในวันทำพิธีบวงสรวงขณะที่เจ้าภาพผู้ก่อสร้างจุดธูปก็มีพระอาทิตย์ทรงกลดและเมื่อเจ้าภาพพาประธานพิธีไปเปิดป้ายก็มีพระอาทิตย์ทรงกลดอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้มาร่วมงานตื่นเต้นและอัศจรรย์ใจมาก สำหรับรูปทรงด้านนอกขององค์พระเจดีย์ ก็มีรูปปั้นของพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียง อยู่ด้านนอกรอบๆพระเจดีย์ ทุกด้าน อาทิ มี หลวงปู่หมุน หลวงปู่สรวง และเกจิอาจารย์ของจังหวัดศรีสะเกษอีกหลายองค์ ด้านในขององค์พระเจดีย์ก่อสร้างได้อย่างสวยงามมีพระรอด 2800 องค์อยู่ล้อมรอบ มีลวดลายของกระจกใสสะท้อนแสงสว่างระยิบระยับ บ่งบอกถึงความประณีตของผู้สร้างที่มีประณีตศิลป์ เป็นงานช่างฝีมือที่ประดิดประดอยขึ้นด้วยความละเอียดอ่อน พิถีพิถัน ตั้งอกตั้งใจ มุ่งเน้นคุณค่าทางความงามให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งสวยงามเพื่อเพิ่มคุณค่า มองดูอลังการ์เราจะไม่ค่อยได้เห็นในประเทศไทยเพราะต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลในการก่อสร้างพระเจดีย์แบบนี้ ซึ่งจะทรงคุณค่าให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาได้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ
************
ข่าว/ภาพ …. บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ