สุดยอดไอเดียอาจารย์ม.ราชภัฎเชียงใหม่ฯ คิดทำอิฐบล๊อคจากเศษถุงพลาสติก”ช่วยลดขยะ ลดโลกร้อน” ในหลายพื้นที่เมืองท่องเที่ยว และชุมชนใหญ่ที่จะพบกับปัญหาขยะจากถุงพลาสติกไร้ค่า เกิดปัญหาในการกำจัดหาที่ฝั่งกลบ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น หากสามารถนำมาทำอิฐบล๊อคปูพื้นทำถนน ลดขยะลดโลกร้อนลงได้ เพราะ 1 ก้อนต่อเศษพลาสติก 1 กิโลกรัม
จากปัญหาโลกร้อนและปัญหาขยะล้นเมือง โดยเฉพาะเมืองแห่งการท่องเที่ยวต่างๆ ขยะจะมีปริมาณมากอย่างจังหวัดเชียงใหม่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงต้องหาพื้นที่กำจัด ฝั่งกลบ รอการย่อยสลาย ทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวอันขึ้นชื่ออย่างอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ช่วงฤดูทท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปจำนวนมาก ปัญหามาคือขยะตกค้าง ในห้วง 7 ปีที่ผ่านมา ความสำเร็จของการคิดค้นทำเศษถุงพลาสติกเหลือใช้ทิ้งเป็นปัญหามลพิษและโลกร้อน
กระทั่งปัจจุบันมีการรณรงค์ไม่รับถุงพลาสติกของประเทศไทย ผู้สื่อข่าวพาไปชมความสำเร็จของ ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ นำขยะพาลาติกอาทิถุงพลาสติก ถุงพลาสติกหุ้มต่างๆ ตลอดจนขวดพลากสติก ชนิดแบบใส มาผลิตเป็นอิฐบล๊อค ทำกระเบื้องหลังคา จากเศษพลาสลิกและทราย 2 ชนิดที่สามารถทำเป็นเป็นบล๊อคปูพื้นได้หลากหลายประโยชน์ ซึ่งอิฐบล๊อค 1 ก้อน ต่อเศษถุงพลาสติก 1 กิโลกรัม ถึงจะผลิตออกมาได้ ที่สำคัญถุงพลาสติกมีจำนวนมากอาทิ 500 กิโลกรัม ก็ได้บล๊อค 500 ก้อน กำจัดถุงพลาสติกที่ต้องใช้การทำลายโดยเฉพาะไปฝั่งกลบสามารถลดปัญหาขยะเหล่านี้ลงไปมาก ส่วนอายุการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของถุงพลาสติก หากใช้เวลา 100 ปี 200 ปี ก็จะคงทนตามระยะเวลา
ส่วนกระบวนการผลิตแบบพื้นฐาน ใช้เพียงพลาสติกและทราย ซึ่งถุงพลาสติกต้องเป็นแบบใสแบบพลาสติกชนิดเดียวไม่มีส่วนผสมเหมือนถุงขนมที่มีฟอยมาผสม เพราะจะต้องนำมาผ่านกระบวนการความร้อนได้ยากจึงไม่เหมาะที่จะมาใช้ทำอิฐบล๊อคจากพลาสติกเหลือใช้ทั่วไป เพราะต้องนำทรายไปผ่านเครื่องโม่ที่ 200 องศา แล้วใช้พลาสติกที่ผ่านการตัดย่อยแล้วผสมลงไปโม่ให้เข้ากันก่อนจะมาลงแบบพิมพ์บล๊อคบีบอัด ทิ้งไว้ให้หายร้อน ก็นำมาใช้ซึ่งบล๊อคเศษพลาสติกจะมีความคงทนยืดหยุ่นดีกว่าบล๊อคจากปูนผสมทั่วไป
อย่างไรก็ตามจากปัญหาขยะถุงพลาสติกที่ตกค้างตอนนี้ได้นำไปขยายและทดลองตามภาคต่างๆ แต่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่เริ่มดำเนินการเพื่อสร้างถนนต้นแบบจากอิฐบล๊อค,
เสาพลาสติก ซึ่งตอนนี้ได้จัดทำโครงการเสนอไปทางสวทช. เพื่อการแก้ไขปัญหาขยะในท้องถิ่น ร่วมไปถึงการแก้ไขปัญหาถุงพลาสติกเหลือใช้ และนำมาทำเป็นอิฐบล๊อคทำถนนแข่งขันกัน หรือพื้นที่ไหนมีกำลังมีงบประมาณจัดทำถนนลดมลพิษลดขยะ ลดโลกร้อน โดยใช้ถุงพลาสติกที่มีมาดำเนินการสร้างถนน โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ลดปัญหาขยะตกค้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งขวดพลาสติกก็นำมา
ใช้ได้เป็นขยะเชิงพาณิชย์ ที่นำไปขายได้ราคาจะแตกต่างจากเศษพลาสติกถุงจะไม่ได้ราคาหรือไม่มีค่า ยากต่อการกำจัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการแก้ไขปัญหาขยะจากถุงพลาสติกลงไปได้หากนำมาทำเป็นบล๊อคปูพื้น ทำถนนดังกล่าว.
ทรงวุฒิ ทับทอง
Cr. ศิระ วีรตันตยาภรณ์