ชมรมคนพร้าวรักษ์ป่าไอเดียเก๋ จัดงานครบรอบ7 ปีชมรมปลูกป่า บวชป่าทำฝายชะลอน้ำแทนการถวายเทียน
เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2562 เวลา 10.00 น.นายทรงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว
เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม ครบรอบ 7 ปีชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า ที่บ้านแม่บอนหมู่ 4 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูวรรณวิวัฒน์ ดร.เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด ประธานชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า ร.ต.ท. นคร ปัญญาทิพย์ ที่ปรีกษาชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอพร้าว นายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา พร้อมกับเจ้าหน้าที่และพระภิกษุสงฆ์สามเณร จิตอาสา ชมรมคนพร้าวรักษ์ป่าและนักศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา มาช่วยกันปลูกป่าในพื้นที่ป่า กว่า 10 ไร่ในพื้นที่ป่าที่ขอคืนพื้นที่จากประชาชนที่บุกรุกเมื่อปี 2555 โดยปลูกต้นไม้ทั้งหมด 2000 ต้น 4 ชนิดได้แก่ ต้นมะค่าโมง หว้า เสี้ยวดอกขาว มะขามป้อม สำหรับการปลูกป่าครั้งนี้นั้นเนื่องจากเป็นการครบ 7 ปีกับคนพร้าวรักษ์ป่า ต้นแบบเครือข่ายชุมชนกับการบูรณาการดูแลป่าต้นน้ำ อย่างยั่งยืนที่มีการเริ่มดำเนินการตั้งสมัย นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชนั้นเป็น ผอ.สบอ.ที่ 16 ซึ่งครั้งนั้นเกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อทำกินและล่าสัตว์ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็พยามทุกวิถีทางในการแก้ปัญหาโดยการใช้กฏหมายและใช้กำลังเจ้าหน้าที่จนเกิดการกระทบกระทั่งกันทั้งสองฝ่ายจนเกิดการปะทะกันขี้นบ่อยครั้งจนอดีต ผอ.สบอ. 16 ในขณะนั้นต้องลงพื้นที่มาดูและมาพูดคุยกับชาวบ้านและผู้นำในชุมชมร่วมทั้งพระสงฆ์ จนเริ่มมีความเข้าใจและเกิดชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า
และดำเนินกิจกรรมควบคู่กัน จนถึงปัจจุบันสามารถรักษาผืนป่า 8แสน 7 หมื่นไร่ และสามารถขอคืนผืนป่าและปลูกป่าไปแล้ว 1 หมื่นกว่าไร่ จนทำให้ชาวบ้านในอำเภอพร้าว เกิดความตระหนักและรักษ์ป่าโดยการนำศาสตร์พระราชามาใช้จนกลายเป็นต้นแบบของศรีลานนาโมเดลที่บางจังหวัดที่เกิดปัญหาคนอยู่กับป่าต้องเข้าดูงานและนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง
ด้านร้อยตำรวจโทนคร ปัญญาทิพย์ ที่ปรึกษาชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอพร้าว เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่อำเภอนั้นก่อนหน้านี้ประสบปัญหาภูเขาหัวโล้นมีการบุกรุกพื้นที่ทำกินบางพื้นที่มีการปลูกฝิ่นและปลูกพืชเชิงเดี่ยวและทำขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ
เนื่องพื้นที่ทำกินซ้อนทับกับพื้นที่อุทยาน บ่อยครั้งจึงเกิดปัญหาระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่แต่เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา นายธัญญา เนติธรรมกุล ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สบ. 16 ได้ลงพื้นที่รับทราบปัญหาได้ให้แนวคิดกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ที่บุกรกป่า ให้กลับมาเป็นผู้รักษาป่าดูแลป่าโดยที่ไม่กระทบกับที่ทำกินและผืนป่ายังคงสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำให้ประชาชนในพื้นที่มีแหล่งน้ำในการเกษตร ไม่ต้องมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่ม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานจึงได้เข้ามาพูดคุยกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านขอความร่วมมือสร้างกฏกติการ่วมกันจนทำให้ทุกวันนี้อำเภอพร้าว จึงไม่มีการบุกรุกพื้นที่เพิ่มเนื่องจากทุกหมู่บ้านทุกชุมชน ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าทำให้ผืนป่าในอุทยานแห่งชาติศรีลานนาที่คลอบคลุม 3 อำเภอ
ทั้งอำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว และอำเภอพร้าว กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
สำหรับโครงการคนพร้าวรักษ์ป่า ภายใต้การรวมกลุ่มจากภาคีเครือข่ายหลัก 5 ฝ่าย ได้แก่
1.ผู้นำท้องถิ่น นำโดยพระครูวรรวรรณวิวัฒน์ ดร. เจ้าอาวาสวัดบ้านหลวง เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด ประธานบูรณะวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ประธานชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า และ ร.ต.ท.นคร ปัญญาทิพย์ ที่ปรึกษาประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.พร้าว และในฐานะรองประธานชมรมคนพร้าวรักษ์ป่า ฝ่ายปกครองอำเภอพร้าว และชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน นำโดยนายอำเภอพร้าว .ชมรมกลุ่มเหมือง-ฝาย อ.พร้าว
ฝ่ายภาครัฐในพื้นอำเภอพร้าว นำโดยอุทยานแห่งชาติศรีลานนา และกอ.รมน. ทหาร ตำรวจ โรงพยาบาลฯลฯ ฝ่ายเอกชน ประกอบด้วย ผู้ประกอบ ห้างร้าน บริษัท ต่างๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลของการรักษาป่าต้นน้ำ โดยหน่วยงานเหล่านี้จะให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่นโครงการธรรมชาติปลอดภัย เครือเจริญโภคภัณฑ์ มูลนิธิอิออนประเทศไทย จำกัด ชมรมผู้ประกอบการแพ จำกัด และบ.สุภิราชการเกษตรพร้าว จำกัด และบ.เวิลด์ซีส จำกัด เป็นต้น
โดยการสร้างกฎกติกาภายในชุมชนทุกชุมชนภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากภาครัฐ มีการจัดระเบียบคนและพื้นที่ทั้งในเขตรอยต่อและเขตพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตลอดจนร่วมกันดูแลป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน ปัจจุบันผลสำเร็จในวันนี้เกิดให้เห็นเป็นประจักษ์อย่างต่อเนื่องดังนี้
ร่วมปลูกป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ต้นน้ำร่วมกับทางอุทยานแก่งชาติศรีลานนาและภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชนมา และราษฎรในพื้นที่
ให้คำปรึกษาแนวทางและร่วมกิจรกรรมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพื้นที่ร่วมกับอุทยานฯ และภาคีเครือข่ายต่างๆ
ร่วมรณรงค์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้อถิ่น เช่น การบวชป่า อนุรักษ์เหล่งน้ำ สร้างฝายชะลอน้ำ ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่เยาวชน ชุมชนอื่น ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ และหวงแหนป่าและร่วมตรวจลาดตระเวนตรวจะพิทักษ์รักษาผืนป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานนอกจากนี้ยังได้ร่วมสนับสนุนเสบียงอาหาร และ การทำงานของเจ้าหน้าที่
ขณะเดียวกันยังสร้างขวัญและกำลังใจในการมอบรางวัลของขวัญในโอกาสพิเศษต่างๆ อีกด้วยสำหรับแนวทางการดำเนินงานของชมรมคนพร้าวรักษ์ป่ากับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในอนาคตยังคงเดินหน้าแก้ปัญหา โดยมุ่งเน้นแนวทางเพื่อให้ “คนไม่รุกป่า ป่าไม่รุกคน” และการเปลี่ยนจากผู้บุกรุกป่ามาเป็นผู้ดูแลป่าอย่างยั่งยืน’’.
ทรงวุฒิ ทับทอง