นางกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า จากที่ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าฯจ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานประชุมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ให้เป็น PubIic CoMMunity Space แห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นายศศิน ดิศวนนท์ ท่องเที่ยวและกีฬา จ.อุตรดิตถ์, นายวิรัตน์ สมีแจ่ม หัวหน้ากองจัดการเดินรถ เขต 3, นายสุรชัย วาณิชย์ปกรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุตรดิตถ์ และส่วนราชการและ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมที่ ห้องประชุมของการรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ (หลังเก่า) ตรงวง เวียนหอนาฬิกา
นางกัญญาวีร์ กล่าวว่า สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ (หลังเก่า) ตรงวงเวียนหอนาฬิกา เปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2496 เดิมเขียนว่า “สถานีรถไฟอุตรดิตถ์” สร้างขึ้นมาให้บริการทดแทนหลังแรกที่เป็นทรงสูงสถาปัตยกรรมโมเดิร์นสไตล์ เสียหายในช่วงสงครามโลกครั้ง 2 สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น พร้อมกับการก่อสร้างหอนาฬิกาอุตรดิตถ์ ขึ้นเป็นลักษณะการผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตก อาคารนี้ จึงเหมาะเป็นพื้นที่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์กิจการรถไฟ ไทยในภาคเหนือซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 รวมถึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการนำเสนอประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชนของอุตรดิตถ์ซึ่งมีความหลากหลาย
“โครงการพัฒนาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ให้เป็น PubIic CoMMunity Space แห่งแรกของ จ.อุตรดิตถ์ พัฒนาอาคารสถานีรถไฟแห่งแรก ให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองอุตรดิตถ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ตามรอยเส้นทางการรถไฟ ในพระราชดำริของพระองค์ สู่การพัฒนาเมืองอุตรดิตถ์และมณฑลพายัพ เพื่อให้ศูนย์บริการการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น 9 อำเภอของ จ.หวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็น “ห้องรับแขก” ของเมือง ต้อนรับแขกบ้านแขก เมือง เป็นเสมือนหมุดหมายใหม่ นักท่องเที่ยวแวะศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวและจุดเด่นเชิงวัฒนธรรมของจังหวัด เพื่อสร้าง พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนอุตรดิตถ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต”
นางกัญญาวีร์ กล่าวว่า ซึ่งเป็นความตั้งใจของภาคเอกชน ผ่านหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จ.อุตรดิตถ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ อบจ.อุตรดิตถ์ ในการร่วมผลักดัน โครงการพัฒนาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ให้เป็น PubIic CoMMunity Space แห่งแรกของ จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมธุรกิจและบริการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงเรื่องราวของย่าน ผู้คน ธุรกิจดั้งเดิม เข้ากับมาตรการส่งเสริมธุรกิจ สร้างสรรค์และการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อกระบวนการคิดการผลิต และการตลาดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเกื้อกูลให้ธุรกิจดั้งเดิมในพื้นที่ได้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ ขอขอบคุณ หน่วยงานภาครัฐ ช่วยประสานอำนวยการ ติดตาม เพื่อให้งานวางแผนเฉพาะด้าน ตามนโยบายรัฐบาล ประสานวิเคราะห์วางแผน ร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ และภาคเอกชน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อย่างดียิ่ง
นาคา คะเลิศรัมย์ รายงาน