รองพ่อเมือง รุดลงพื้นที่เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ประชาชนและ เหล่าเชฟจิตอาสา ครัวหลวงน้ำพระทัยพระราชทาน
เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 67 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยที่ยังคงพักอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง ที่ทางจังหวัดและส่วนราชการ รวมถึงภาคีเครือข่ายได้จัดตั้งขึ้น โดยได้เดินทางไปยังบ้านเอื้ออาทรสันผีเสื้อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับกลุ่มเปราะบาง สามารถรองรับได้ทั้งหมด 150 คน ขณะนี้คงเหลือประชาชนพักอาศัยอาศัยอยู่ไม่ถึง 10 คน แล้ว โดยประชาชนจะเริ่มทยอยกลับเข้าบ้านของตัวเองภายในเร็วๆนี้
จากนั้นได้เดินทางต่อไปยังสวนธรรมบุญถาวร ซึ่งบุญถาวร สาขาเชียงใหม่ ได้ร่วมกับโครงการน้ำพระทัยพระราชทาน สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ จัดตั้งโรงครัว ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดทำข้าวกล่องนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ ผศ.ดร.พ.ต.ท.ดำรงค์วิทค์ รัตนฟูวงศ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านกฎหมายเชฟจิตอาสา โครงการน้ำพระทัยพระราชทาน เชฟจิตอาสา สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์และมิราเคิลออฟไลน์ ได้รายงานต่อ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเข้าเยี่ยมครัวหลวงพระราชทาน โครงการน้ำพระทัยพระราชทาน เชฟจิตอาสา สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์และมิราเคิลออฟไลน์ ภาคเหนือ ว่าการลงครัวก็จะมีเหล่าเชฟจิตอาสา เชฟเจนณรงค์ สุริเย (เชฟแดง) เชฟนพเกล้า เก่งคุมพล และเชฟจิตอาสาอีกหลายคน ที่ร่วมใจกันมาลงครัว ทั้งๆ ที่ตัวของเชฟเองก็เป็นผู้ประสบภัยภัยในครั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาสาธารณภัยในครั้งนี้แก่พ่อแม่พี่น้องเชียงใหม่ โดยได้รับการอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อสถานที่จาก บริษัท บุญถาวร จำกัด สาขาเชียงใหม่ผศ.ดร.พ.ต.ท.ดำรงค์วิทค์ รัตนฟูวงศ์ รายงานต่ออีกว่าสถิติที่ทำผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2567 ครัวหลวงพระราชทาน สามารถจัดทำข้าวกล่องได้มากถึง 1,000-4,000 กล่อง ต่อวัน โดยกำลังในการผลิตได้จากทั้งครัวพระราชทาน และรับสมทบจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ร้านอาหารญี่ปุ่น Gindaco Chiangmai, เพจอีจัน และกัลญาณมิตร ที่มีกำลังร่วมสนับสนุน สมทบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ลงในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน รวมถึงทีมกู้ภัยหลายๆ ค่าย
อย่างไรก็ตามปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว โดยในบางพื้นที่ จะมีการลดกำลังการผลิตข้าวกล่อง ตลอดจนศูนย์พักพิง ในพื้นที่ต่างๆ ลงตามความเหมาะสม และดำเนินการเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อม บ้านเรือนประชาชนให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว.