ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

(มีคลิป) การแสดงแสงสีเสียง นิราศหริภุญชัย ถอดบทนำมาประพันธ์สร้างสรรค์ใหม่ คณะศิลปศาสตร์ ม.แม่โจ้แม่โจ้ ที่วัดศรีสุพรรณ

การแสดงแสงสีเสียง นิราศหริภุญชัย ถอดบทนำมาประพันธ์สร้างสรรค์ใหม่ คณะศิลปศาสตร์ ม.แม่โจ้แม่โจ้ ที่วัดศรีสุพรรณ

การแสดงแสงสีเสียง บทประพันธ์ นิราศหริภุญชัย ซึ่งถอดบทนำมาประพันธ์ สร้างสรรค์ใหม่ นำแสดงโดยนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ประกอบแสงสีเสียง เล่าเรื่องผ่านเพลงซอล้านนา ที่วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ เล่าย้อนไปในอดีต เมื่อ 500 ปี ก่อน ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 ที่ลานหลังพระอุโบสถเงิน หลังแรกของโลก วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ นักศึกษาและอาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้กว่า 40 ชีวิต นำงานวิจัยบทประพันธ์ ของอาจารย์ ด็อกเตอร์ วีรินทร์ภัทร์ บูรณะสระกวี หัวหน้าโครงการวิจัย นิราศหริภุญชัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยแห่งชาติ หรือ ว ช. ซึ่งอาจารย์ใช้เวลานานกว่า 1 ปี ศึกษาค้นคว้าและประพันธ์ขึ้นมาใหม่ และนำมาแสดงในงานนี้ เป็นครั้งแรก โดยการแสดงยังเป็นอัตลักษณ์ของล้านนา ในอดีตเมื่อกว่า 500 ปี ที่ผ่านมา ผสมผสานกับยุคในปัจจุบัน ที่มีนักแสดงยุคปัจจุบัน มาเล่าเรื่อง จากตำราที่ค้นพบ และเล่าย้อนอดีตกลับไปเมื่อ 500 ปีก่อน ผ่านการแสดง ที่พระเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนา เสด็จจากเชียงใหม่ ไปยังเมืองหริภุญชัย หรือจังหวัดลำพูน ในปัจจุบัน ที่ได้มีการพรรณนา ถึงสถานที่ต่างๆ และผู้หญิงที่รัก ซึ่งน่าจะหมายถึง พระนางสิริยศวดี ราชมารดา และถ่ายทอดออกมา เป็นการเล่าเรื่อง ผ่านการแสดง ตลอดเส้นทาง พบเจอกับอะไรบ้าง ซึ่งการแสดง ยิ่งใหญ่อลังการ ทั้งชุดแต่งกายแบบล้านนาในอดีต ประกอบดนตรีล้านนา และแสงสีเสียง โดยมีฉากหลังเป็นพระอุโบสถเงินหลังแรกของโลก วัดศรีสุพรรณ ตลอดนะยะเวลาแสดงนาน 45 นาที ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งก็จะเป็นอีก 1 เรื่องราว ที่มาช่วยกระตุ้น ภาคการท่องเที่ยว ของจังวัดเชียงใหม่

อาจารย์ ด็อกเตอร์ วีรินทร์ภัทร์ บูรณะสระกวี หัวหน้าโครงการวิจัย อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก โครงนิราศหริภุญชัย ถือเป็นโครงต้นฉบับ ของด้านวรรณกรรมล้านนาประพันธ์โดยพระเมืองแก้ว กษัตริย์แห่งล้านนา ที่สร้างวัดศรีสุพรรณ และเจ้าของบทประพันธ์ นอกจากจะพรรณนา ถึงสถานที่ ยังใส่ความรู้สึกของผู้ประพันธ์ลงไปด้วย จึงนำมาเล่าเรื่อง ผ่านเพลงซอล้านนา เอามาทำดนตรีใหม่ มีการสร้างเรื่องราว มีตัวเอก มีตัวละคร มีเส้นเรื่องขึ้นมา ในการเล่าเรื่องและเรื่องนี้ ยังคงมีอัตลักษณ์ของล้านนาอยู่ และมีการผสมผสานยุคปัจจุบันเข้าไปด้วย

อาจารย์ สุรชัย ศรีนรจันทร์ ผู้วิจัย คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยว่า หลังจากนี้ก็จะนำผลงานชิ้นนี้ ไปเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ต่อไป.