Uncategorized

สสส. ชวน นักเรียน สพป.นครศรีฯ เขต 2 ออกมาเล่น Active Play Active School ช่วยเด็กไทยกระตือรือร้น- มีสมาธิ พัฒนาการเรียนรู้

สสส. ชวน นักเรียน สพป.นครศรีฯ เขต 2 ออกมาเล่นActive Play Active School ช่วยเด็กไทยกระตือรือร้น- มีสมาธิ พัฒนาการเรียนรู้วันที่ 11 มีนาคม 2562 นางจารี กาลดิษฐ์ ทิพย์รัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (รอง ผอ.สพป.นศ.2) เป็นประธานเปิดกิจกรรม Active Play Active School สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สังกัด สพป.นศ.2 จำนวน 100 คนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายซึ่งจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย หรือการ ออกมาเล่น แอคทีฟ 60 นาทีผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาการ สอดคล้องตามนโยบาย“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของกระทรวงศึกษาธิการและขยายผลสู่นักเรียน รร.อื่น ๆ ในสังกัด ต่อไป ณ โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช นางจารี กาลดิษฐ์ ทิพย์รัตน์ กล่าวว่า จากการที่สมาคมเครือข่ายครูดี สพป.นศ.2 ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะทางกายในสถานศึกษา ออกมาแอคทีพ 60 นาที ทุกวัน (Active Play Active School) ของนักเรียน รร.ในสังกัด สพป.นศ.2 จำนวน 10 โรง ได้แก่ รร. วัดธรรมเผด็จ รร.บ้านถ้ำตลอด รร. วัดวังหีบ รร.บ้านหนองหว้า (ชะมายนุกูล) รร.บ้านพูน รร.คลองตูก รร.บ้านวังยวน รร.วัดวังรีบุญเลิศ รร.บ้านนาเส รร.ชุมชนบ้านปากเสียว และ รร.ชุมชนบ้านสี่แยก รวม 100 คน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการศึกษาของเยาวชนไทยซึ่งเป็นการสร้างเสริมให้“ผู้เรียนมีความสุข” ผ่านกิจกรรมการกายได้แก่ ฐาน ชั่ง ตวง วัด ที่บูรณาการความรู้มาจากวิชาคณิตศาสตร์และนันทนาการเข้าไว้ด้วยกันซึ่งจะช่วยเพิ่มพัฒนาการทางด้านสมองและทักษะการเคลื่อนไหวของเด็ก ๆ หรือจะเป็น ฐานท่องจักรวาล ที่เป็นการฝึกแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีมเน้นไปที่สมองส่วนหน้าในการแก้ปัญหา ฝึกทักษะทางสังคม หรือฐานเขาวงกต ที่ถูกออกแบบให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจในการกำหนดเส้นทางการลำเลียงลูกแก้วเพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุดภายในเวลาที่จำกัด และฐาน จับคู่ภาพสัตว์ ที่เป็นการฝึกทักษะสมอง เน้นการสื่อสารของเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองที่จะส่งเสริมให้การดำเนินการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนอย่างสร้างสรรค์ สนุก และมีความสุข เป็นการเพิ่มเวลาและโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มีความสุขกับการเรียนรู้ เช่น ไม่ต้องนั่งกอดอกฟังครูสอนอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวในทุกวิชาเรียนที่สามารถบูรณาการได้อย่างลงตัว นางจารี กล่าว