เกษตรกร

บุรีรัมย์- คุยกับพลคนข่าว วันนี้พาชมสวนเกษตรผสมผสาน 1 ใน 9,101 ชุมชน ในโครงการ 9101 บ้านโคกพลวง ตำบลสะเดา อำเภอนางรอง

บุรีรัมย์- คุยกับพลคนข่าว วันนี้พาชมสวนเกษตรผสมผสาน 1 ใน 9,101 ชุมชน ในโครงการ 9101 บ้านโคกพลวง ตำบลสะเดา อำเภอนางรอง

พี่สายสมอ กำพูชาติ ผู้ใหญ่บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 11 บ้านโคกพลวง ตำบลสะเดา อำเภอนางรอง นำพาชาวบ้านโคกพลวงที่ว่างเว้นจากงาน ออกมาทำสวนเกษตรแนววิถีพอเพียง บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ ซึ่งจัดสรรพื้นที่ป่ายูคาลิปตัสเก่า มาปรับปรุงทำโครงการเกษตรกรในกลุ่ม 9101 ซึ่งเป็นโครงการเกษตรผสมผสานนำพาชุมชนยั่งยืน พื้นที่กว่า10 ไร่นี้เกิดจากความสมัครใจของชุมชนเขียนโครงการจนได้งบประมาณมาจัดสรรพื้นที่แบ่งให้ทำ ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีชาวบ้านมาร่วมทำเกษตรปลูกผักกว่า 98 ราย บางรายมีพื้นที่2 แปลง ซึ่งแบ่งเป็นล็อค ตามความเหมาะสมของแต่ละคน โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ ไม่มีเคมีแม้แต่หยดเดียว ผักก็มีหลากหลายชนิด เลือกปลูกกันตามความถนัดของแต่ละคน ส่วนบ่อดาดาล และเพลิงพักในสวนดังกล่าว ทราบว่า พระอาจารย์ประเสริฐ แห่งวัดเขาคอกได้นำทุนทรัพย์มาทำให้ชาวบ้านฟรี ก็ได้ความสามัคคีรวมแรงร่วมใจในชุมชนไปอีกแบบ เรื่องการขายไม่ยุ่งยาก ผักโตเต็มที่ ก็มีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน ปัจจุบันแต่ละคนมีรายได้จากการขายผักราวหมื่นบาทต่อเดือนเชียวครับ

 

พี่สายสมอบอกกับผมว่าที่นี่เน้นธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการเกษตรบนโลกสีเขียวที่แท้จริง ทุกเช้าเย็น จะเห็นเกษตรกรแต่ละรายเข้าออกมาดูแลส่วนของตน ทำให้เกิดความยั่งยืนครับ แหม่…เยี่ยมจริงๆ หากท่านไดอยากไปชมสวนเกษตรพอเพียงแห่งนี้ สามารถไปได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือตามแต่ถนัดครับ ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกพลวง ทางขึ้นวัดเขาคอก อยู่ซ้ายมือ ขับรถไปตามถนนนางรอง – ละหานทราย ถึงบ้านเขว่านิดนึงแล้วเลี้ยวซ้ายไปนิดเดียวก็เจอ ส่วนผมเดินชมไปคุยไป กินผักสดๆไป อิ่มก็มีแรงเขียนแล้วครับ อิอิ ขอบคุณข้อมูลดีๆจากพี่สายสมอ กำพูชาติ ผู้ใหญ่บ้านโคกพลวง มากๆครับที่พาชมสวนในเย็นวันนี้

 

สำหรับที่มาของ “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี” เลขสามตัวแรก “9” และ “10” คือ รัชกาลที่ 9 และ รัชกาลที่10 เลขตัวท้าย “1” คือ เริ่มคิดโครงการนี้ มาตั้งแต่ปีที่ 1 ของรัชกาลปัจจุบัน โดยมีเป้าหมาย 9,101 ชุมชน ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว 1.77 ล้านราย โดยจะมีผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 7.68 ล้านคน จากโครงการที่คิดและเสนอเอง จากชุมชน หรือสนับสนุนให้ “ระเบิดจากข้างใน” กว่า 24,000 โครงการ ด้วยวงเงิน 20,000 กว่าล้านบาท ซึ่งได้รับอนุมัติโครงการ โดยคณะกรรมการระดับอำเภอแล้ว กว่า 87% โดยงบประมาณที่ลงสู่พื้นที่และถึงมือเกษตรกร “โดยตรง” แบ่งออกเป็น 2 ส่วนๆ ละประมาณ 10,000 ล้าน

 

ทั้งนี้ “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร” (ศพก.) ทั้ง 882 ศูนย์ และเครือข่ายแตกแขนง ทั่วประเทศ กว่า 10,000 แห่ง จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาภาคการเกษตร ที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม และส่งเสริมการทำงานแบบประชารัฐในพื้นที่ อีกด้วย ทำให้เกิดการพัฒนาของเกษตรชุมชน สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ ส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ นำไปปฏิบัติเองได้จริง และทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

/ภัทรพงศ์ ช้างเขียว รายงาน