ข่าว สรุาษฎร์ธานี ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น

ข้าราชการระดับสูงร่วมขบวนการทุจริตในคดีทุจริตชุมนุมสหกรณ์กระบี่ มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 50,000 ครอบครัว มูลค่าความเสียหายนับพันล้าน

8 ตุลาคม 2567 ที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษพื้นที่ 8 สุราษฎร์ธานี ร้อยตำรวจเอกชาญณรงค์ ทับสาร รองผู้อำนวยการปฏิบัติคดีพิเศษภาค หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ที่ 56/2566 พร้อมคณะ และ นายศุภชัย คำคุ้ม ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ พื้นที่ 8 ร่วมกันสอบปากคำ นายชัยวุฒิ เหมทานนท์ และนายสุธี ปัญญาวุฒตรัย ผู้ถูกกล่าวหาได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อพันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้สั่งการให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันสอบปากคำผู้ร้องขอความเป็นธรรม ขณะเดียวกันพยานที่ลงนามขายขายโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มกระบี่ จำกัด สาขาคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ของชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ของกลางที่ในคดีพิเศษที่ 56/2566 แต่ไม่ได้เงินตามมติการขายโรงงานเพื่อเสริมสภาพคล่องของชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้ขอให้การเพิ่มเติมต่อคณะพนักงานสอบสวน ความสรุปว่า กรรมการบริหารชุมนุมชุดชั่วคราวเป็นเหยื่อของการทุจริตของข้าราชการระดับสูง ตำแหน่งอดีตสหกรณ์จังหวัดกระบี่ และเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนึ่งได้ร่วมกันชักชวน เชิญชวนให้พวกตนมาเป็น เหยื่อลงนามขายโรงงานให้ซึ่งนายทะเบียนได้แต่งตั้งได้เพียง 11 วัน ในการแต่งตั้งกรรมการชุดชั่วคราว ผู้ที่ประสานจัดการแต่งตั้งล้วนแต่เป็นผู้ต้องหาคดีนี้ จึงน่าเชื่อว่าเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีสหกรณ์ มีการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด และสนับสนุนกระทำความผิด กับผู้ต้องหา นอกจากนั้นยังพบว่ามีข้าราชการของกรมสอบสวนคดีพิเศษยังสนับสนุนกระทำความผิดของผู้ต้องหาโดยให้ครอบครองทรัพย์ของกลาง จึงยื่น ปปช.ไต่สวนเอาผิด



ร้อยตำรวจเอกชาญณรงค์ กล่าวว่าการสอบปากคำ ในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นอย่างมากได้เห็นแผนประทุษกรรมของผู้กระทำความผิดร่วมกับข้าราชการระดับผู้อำนวยการสูงอย่างน้อย 2 กรม นอกจากนั้นยังมีระดับชำนาญการ และขำนาญการพิเศษ คดีนี้จึงเป็นคดีหนึ่งที่น่าเห็นใจ เหยื่อโดยเฉพาะเกษตรกรผู้มีส่วนได้เสีย มากว่า 50,000 ครอบครัว คณะพนักงานสอบสวนจะเร่งสรุปสำนวน มีความเห็นทางคดีและส่งสำนวนไปยังอัยการปราบปรามการทุจริตต่อไป

​“คดีนี้พลตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กำชับให้พนักงานสอบสวน สืบสวนสอบสวนให้ความเป็นธรรม กับทุกฝ่าย โดยที่พันตำรวจตรียุทธนา แพรดำ ได้เรียกประชุมพนักงานสอบสวนได้ให้นโยบาย ต่อการสืบสวนสอบสวนอย่างรัดกุม เนื่องจากในคดีนี้ผู้ต้องหาในคดี ได้ฟ้องคณะพนักงานสอบสวนและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถึง 3 ศาล ประกอบด้วยฟ้องคดี ศาลอาญาปราบปรามทุจริตประพฤมิชอบกลาง ฟ้องแพ่งที่ศาลจังหวัดกระบี่และฟ้องศาลปกครองจังหวัดภูเก็ต ซึ่งศาลปราบปรามทุจรติประพฤติมิชอบกลาง ยกฟ้องไปแล้วเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ส่วนศาลจังหวัดกระบี่ ได้เลื่อนการไต่สวนในวันที่ 31 ตุลาคมา 2567 นี้” ร้อยตำรวจเอกชาญณรงค์กล่าว



นายเทพพิทักษ์ วงศ์ไชภาคย์ แกนนำเครือข่ายผู้มีส่วนได้เสีย และสหกรณ์สมาชิกของสหกรณ์ชุมนุมชาวสวนปาล์มจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า จากการทุจริตของสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ส่งผลต่อสมาชิกสหกรณ์ที่เป็นสหกรณ์สมาชิกอย่างมาก บางรายต้องขายทรัพย์สิน เพื่อมาสู้กับความไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะผู้ร้องขอความเป็นธรรมทั้งสองราย ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเป็นผู้แทนของสมาชิกสหกรณ์ในการเข้าไปเป็นคณะกรรมการเพียง 5 เดือน 17 วัน ได้ประชุม 17 ครั้ง ได้ทำหน้าที่อย่างยอดเยี่ยม แต่กลับตกเป็นเหยื่อ เป็นผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากนายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ถอดถอนทั้งชุดคณะกรรมการ นอกจากหมดอนาคตในการบริหารสหกรณ์แล้ว ในทางด้านสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็ล้มเหลวตามไปด้วย จึงไม่ได้รับความเป็นธรรม จนต้องลุกขึ้นมาสู้ แทนเกษตรกร เพื่อให้ความเป็นธรรมเกิดขึ้นกับสมาชิกสหกรณ์ฯ ทุกรายที่มีส่วนได้เสีย นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ข้าราชการระดับสูงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังมีความเห็นให้ผู้ต้องหาครอบครองนำโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่ได้จากการกระทำความผิดไปครอบครองใช้ประโยชน์ทำเงินได้หลายพันล้านบาท ทั้ง ๆที่ควรเป็นเงินของสมาชิกสหกรณ์ จึงได้ยืน หนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้สืบสวนสอบสวนไต่สวนเอาผิดกับข้าราชการที่ร่วมกระทำความผิดตามอำนาจหน้าที่ของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2561

​“ในการที่ดีเอสไอ สืบสวนสอบสวนรับคดีทุจริตชาวสวนปาล์น้ำมันกระบี่ เป็นคดีเป็นพิเศษ ส่งผลดีกับชาวสวนปาล์มกระบี่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคดีนี้ การคลี่คลายคดี เป็นการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ไปด้วย ขอให้ผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มุ่งมั่นช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรและประชาชนอย่างได้ย่อท้อต่อไป”.