จังหวัดร้อยเอ็ดจัดประชุมหารือกรณีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงงานไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อยโดยจะจัดประชุมใหญ่อีกครั้งหลังเลือกตั้งและไม่ให้มีการจ่ายเงิน
/สมนึก-บพิตร/รายงาน/0817082129-
เลิศบุศย์ รอง.ผวจ.รอ.จัดเวทีหาข้อตกลงร่วมกันสร้างโรงน้ำตาลและไฟฟ้าชีวมวลที่อ.ปทุมรัตต์ ร้อยเอ็ด/สมนึก-บพิตร/NBTV๑๐๑news/0817082129
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2562 เวลา 10:00 น ณ ห้องประชุมพระเวสสันดรชั้น 3 อาคารศาลากลาง จังหวัดร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทาง และข้อตกลงร่วมกัน ตามระเบียบข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อย โดยการดำเนินงานของ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมด้วยผู้แทนเครือข่ายคนรักปทุมรัตน์,ผู้แทนบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด,ผู้แทนกลุ่มชาวไร่อ้อยร้อยเอ็ด,สถานีตำรวจภูธรบ้านบัวขาว
โดยมีวาระที่ประชุมคือ พิจารณาในเรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะทำงานเพื่อควบคุมกำกับและสนับสนุนการดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกรณีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อยเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด,ประเด็นการพิจารณาข้อเรียกร้องข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้อง กรณีโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อย ของบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด,
เรื่องเพื่อพิจารณาคือแนวทางและข้อตกลงร่วมกัน กรณีโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อย โดยที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เกี่ยวข้อง กรณีบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อย ในเขตพื้นที่ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีข้อห่วงกังวลต่อการดำเนินโครงการดังนี้ 1 เครือข่ายคนรักปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้องเรียนในการประชุมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ของบริษัทเทคนิคสิ่งแวดล้อมไทยจํากัด
เห็นว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อยมาก อีกทั้งข้อมูลสรุปผลการรับฟัง ความคิดเห็นอย่างไม่ถูกต้องและต่อมา ได้ขอให้ยกเลิกการนำผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 มาใช้ประกอบการพิจารณา,2 บริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ขอเสนอให้มีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวมเป็นเวทีเดียว เพื่อทดแทนการประชุมกลุ่มย่อย เนื่องจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่าผู้ไม่เห็นด้วยได้นำเยาวชนมาถือป้ายประท้วงขัดขวางการจัดเวที และขัดขวางไม่ให้ผู้สนใจ เข้าร่วมเวที ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงทำให้ไม่มีประชาชนในหมู่บ้านมา ร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น,
3 สถานีตำรวจภูธรบ้านบัวขาว ได้รับหนังสือจากผู้แทนบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ได้เข้าแจ้งต่อพนักงานสอบสวน เพื่อบรรจุลงบันทึกประจำวัน เนื่องจากเห็นว่าการกระทำ ในการขัดขวางการจัดเวทีการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงเห็นควรเชิญประชุมคณะทำงาน ผู้แทนบริษัท และกลุ่มผู้คัดค้านการดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจและหาแนวทางในการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนให้เป็นไปตามข้อตกลงกฎระเบียบ ภายใต้กรอบที่ชอบด้วยกฎหมาย,4 กลุ่มชาวไร่อ้อยร้องเรียนมายังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ว่าการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล ในพื้นที่ตำบลโนนสวรรค์อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงงาน จึงส่งผลให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อย ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อน
ในวาระประชุมที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณาแนวทางและข้อตกลงร่วมกันกรณีโครงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลชานอ้อย สืบเนื่องจากจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเรื่องร้องเรียน จากผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ในการนี้จึงขอให้ทุกภาคส่วนได้นำเสนอแนวทาง การดำเนินงานร่วมกัน เพื่อใช้เป็นกรอบปฏิบัติที่ชัดเจนถูกต้องตามระเบียบและข้อกฎหมายต่อไปอันได้แก่ 1 ผู้แทนเครือข่ายคนรักปทุมรัตน์ 2 ผู้แทนบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด 3 ผู้แทนกลุ่มชาวไร่อ้อยร้อยเอ็ด 4 อื่นๆ
นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดประธานได้กล่าวว่า.-จากผลการจัดเวทีประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนและหาข้อตกลง ในการตั้งโรงงานน้ำตาลและโรงงานชีวมวลชานอ้อย ได้ข้อสรุปคือ 1 ข้อมูลที่ได้จากการประชุมครั้งแรก ไม่ให้นำมา ซึ่งทุ่นตกลงเข้าใจตรงกัน,2 เวทีต้องเปิดใหม่ ให้ประชาชนได้ร่วมรับฟังความคิดเห็น ให้เป็นเวทีรวม ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น โดยในระหว่างนี้พนักงาน นักวิจัย ที่ทางโรงงานว่าจ้างกันไว้ อย่าลงไปในพื้นที่ เราจะดำเนินการต่อเนื่องไปหลังจากเปิดเวทีหลังเลือกตั้งแล้ว,3ส่วนการแจ้งความต่างๆให้ทุกคนสมานฉันท์ ต่อกันไม่มีการดำเนินคดีต่อกัน
โดยทางโรงงานจะเป็นผู้แจ้งว่าจะเปิดเวทีที่ไหนอย่างไร ต้องรับข้อเสนอแนะข้อห่วงใยของคนในหมู่บ้าน ต้องมีการควบคุมในพื้นที่รัศมีให้ได้ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ดี ด้วยกัน ไม่มีใครแพ้ใครเสียประโยชน์ ซึ่งจะร่วมกันที่จะเดินหน้าต่อไปอีก หากต่างฝ่ายไม่เคารพกติกา ข้อตกลง หรือดำเนินการ ในระหว่างรออยู่ ก็จะถือว่าไม่เป็นไปตามนั้น เหตุการณ์ก็จะเวียนมาอยู่ที่เดิมอีกไม่มีที่จบสิ้น
การเห็นชอบหรือไม่ ของระดับประเทศ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้เสนอขึ้นไปโดยเฉพาะการสื่อสารต่อประชาชน จะต้องเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับ การปลูกพืชหรืออ้อย ไม่มีกฎหมายบังคับจะต้องปลูกอะไร หากมีโรงงานขึ้นมา เจ้าของจะต้องแก้ไขปัญหาตามที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการ หากแก้ไขปัญหาได้ และรักษาสัญญาก็คงไม่มีปัญหาซึ่งทุกคนจะต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
—///—สมนึก บุญศรี-บพิตร จำปา/ร้อยเอ็ด/รายงาน/0817082129-