7 สิงหาคม 2567 นายนิยม เติมศรีสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมพลังไทยสร้างครอบครัว ชุมชนอุ่นใจ พ้นภัยยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา ปี 2567 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายไกรเลิศ ดาวเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3 พันตำรวจเอกคเชนท์ เสตะปุตตะ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา นายอนันต์ ถ้ำทอง ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นายมานพ แสงจันทร์ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน วิทยากรกระบวนการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เกิดจากการรวมตัวประกอบกำลังขึ้นมา โดยภาคประชาชน ของ 8 จังหวัด โดยมี สำนักงาน ปปส.ภาค 3 และ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/ อำเภอเป็นพี่เลี้ยง ได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่บ่อนทำลายสังคม และประเทศชาติ จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง และนับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งสิ้น 4,246 แห่ง และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ทุกหมู่บ้านได้ทำกิจกรรมเพื่อสนองพระราชปณิธาน การแก้ไขปัญหายาเสพติด ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บนพื้นฐานแห่งความรัก ความเมตตา การให้อภัย การให้โอกาส ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และใช้แนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ทำให้เป็นพลังที่มีความ เข้มแข็งอย่างแท้จริงในการเอาชนะปัญหาต่างๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชนได้เป็นผลสำเร็จ
.
จึงได้จัดทำโครงการ “กองทุนแม่ของแผ่นดิน รวมพลังไทยสร้างครอบครัว ชุมชนอุ่นใจ พ้นภัยยาเสพติด เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา ปี 2567 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง” ขึ้น เพื่อให้เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้มาแสดงพลังความร่วมมือ และส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ร่วมกิจกรรมแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลการ ดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน และร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รวมถึง รับทราบนโยบายความสำคัญของประชาชน ต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงาน ปปส. ภาค 3 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ได้จัดขึ้น ตั้งแต่วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2567 ถึง วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 100 คน ประกอบด้วย
1. คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินระดับภาค และระดับจังหวัด 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
2. วิทยากรกระบวนการกองทุนแม่ของแผ่นดิน
3. หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ร่วมจัดนิทรรศการ จํานวน 4 แห่ง ได้แก่
– บ้านสามแยกชมภู ม.6 อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
– บ้านซับหวาย ม.16 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
– ทูบีนัมเบอร์วัน บ้านโสก ม.3 ต.บ้านโสก อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
– บ้านเปาะ ม.6 ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
4. ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2567 ที่เข้ารับทุนประกอบอาชีพ จำนวน 7 ทุน (จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ราย และจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 5 ราย)
5. ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และศูนย์อำนายการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดจังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
.
นายนิยม เติมศรีสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า “ขอแสดงความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นการรวมพลังของภาคประชาชน ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดินเพื่อสนองพระราชปณิธาน การแก้ไขปัญหายาเสพติดของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้พระราชทานเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2547 และมีการดำเนินงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทรงมีความมุ่งหวังว่ากองทุนแม่ของแผ่นดินจะสามารถช่วยเหลือการแก้ไขปัญหายเสพติดของประเทศได้อย่างมาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยต่อวิกฤติมหันตภัยจากยาเสพติด โดยมีเป้าหมายในการขจัดปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืนด้วยพลังสามัคคีของชาวบ้าน ให้พึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของทุนทางสังคมที่มีอยู่และต่อยอดไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง กองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นผลจากการระดมทุนจากทุนศรัทธาและทุนปัญญา จะนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ จนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสมทบช่วยเหลือการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด การส่งเสริมอาชีพ การสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด และกิจกรรมเยาวชน การเฝ้าระวัง การช่วยเหลือความเดือดร้อนต่าง ๆ ในชุมชน
ภาพข่าว / อภิรักษ์ ศรีอัศวิน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครราชสีมา