คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านพบ ทุจริต ในกองทุนหมู่บ้านหันหน้าพึ่งศูนย์ดำรงธรรมหลังเจ้าหน้าที่ไม่รับแจ้งความ.
วันที่ 5 กันยายน 61 หลังจากผู้สื่อข่าวลงพื้นที่เรื่องร้องทุกข์ว่า มีการทุจริต เงินกองทุนหมู่บ้าน.ที่ หมู่ 6 ต.หนองหม้อ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ จึงได้เดินทางไปหมู่บ้านดังกล่าว พบผู้ที่ร้องเรียน เพื่อสอบถาม. ข้อมูลดังกล่าวและตัวแทนสมาชิก กู้เงินกองทุน. พบ พนักงานสอบสวน สภ.ตาคลี.ได้เรียกทั้งสองฝ่ายมาตกลงคุยกันแต่ผลออกมาคนละเรื่องไม่เป็นที่พอใจของผู้ร้องดังกล่าว จึงเดินทางมายื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมเพื่อขอความเป็นธรรมกับพวกตน
สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เผย หนึ่งในคณะกรรมการ กองทุนเงินล้านหมู่บ้าน เงินกองทุนชุมชนหมู่บ้าน เมื่อครั้งสมัย นายกทักษิณ ปี 2550 ได้มีประชาชน เป็นสมาชิกองทุนเงินล้าน มีสมาชิกจำนวน 56 ราย ได้กู้เงิน จากกองทุน รายละ 75,000 บาท. บางราย ก็กู้ 50,000 บาท. และได้ส่ง ดอกเบี้ย ให้กับ คณะกรรมกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 6 บาท ต่อปี ทางคณะกรรมการกองทุนเงินล้าน. เริ่มสงสัยว่า. การเก็บดอกเบี้ย จากสมาชิกทั้ง 56 รายที่กู้เงินจากกองทุน ไม่มีการนำเงินมาเข้าบัญชีฝากธนาคาร ต่อมา ปี 2560 คณะกรรมการ ขอตรวจสอบบัญชีธนาคารและ ร้องไปที่ นายฉลอง คันทะทรัพย์ อายุ 70ปี ซึ่งเป็นประธานกองทุนเงินล้านหมู่บ้าน. แต่ประธาน ไม่มีการชี้แจงให้สมาชิกทั้ง 56ราย ได้รับทราบ จนเวลาล่วงเลยมานานถึงปี 2561. ก็ยัง ไม่มีการชี้แจ้งแต่อย่างไร.
ตัวแทนสมาชิก กู้เงินล้าน. เผย. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยเวรให้เหตุผลว่า ผมจะเรียก . ประธานกองทุนเงินล้าน. มาพบ เพื่อ ไกล่เกลี่ย และ ให้มีการตกลง เพื่อความเรียบร้อย. แต่ในส่วน ตำรวจ ยังบอกอีกว่า. การจะแจ้งความเอาผิดใคร ต้องมีหลักฐาน และ ให้มีใบมอบอำนาจมาแจ้งความ พร้อมที่จะดำเนินคดีไปตามกฎหมาย. ตำรวจ. ยังไม่รับแจ้งความ. ไม่มีการลงบันทึกประจำวันอะไรเลย จึงตัดสินใจขอพึ่งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและได้เดินทางมายื่นหนังสือให้ศูนย์ดำรงธรรมตรวจสอบว่าเงินของสมาชิกที่ส่งเข้าไปชำระหนี้ไปไหนหมด
นอกจากนี้. ยังเปิดเผยอีกว่า. เงินประชารัฐ กว่า 2แสนบาท. ไม่มีการผ่านประชาคมหมู่บ้านอีกด้วยขอให้ศูนย์ดำรงธรรมตรวจสอบความไม่โปร่งใสนี้ด้วยและยังมีการปล่อยให้คนนอกกู้อีกด้วย
กณต ทาทิพย์ รายงาน