Reporter&Thai Army ข่าว ร้อยเอ็ด ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

ร้อยเอ็ด-ขับเคลื่อนโครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และโครงการสาเกตวากิว จากแหล่งกักเก็บน้ำ จำนวน 1,771 แห่งครั้งที่ 1/2568

ร้อยเอ็ด-ขับเคลื่อนโครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และโครงการสาเกตวากิว จากแหล่งกักเก็บน้ำ จำนวน 1,771 แห่งครั้งที่ 1/2568

วันนี้( 5 ก.พ.68) เวลา 13.30 น.นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และโครงการสาเกตวากิว ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุม Smart Room (ชั้น 2) ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายกฤต อรรคศรีวร หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด นายอำนาจ มะธิปิไข ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการชลประทานร้อยเอ็ด สำนักงานพลังงานจังหวัดร้อยเอ็ด นักวิชาการ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

การประชุมเพื่อขับเคลื่อนโครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และโครงการสาเกตวากิว เป็นการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำทั้งการอุปโภค บริโภคและส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยพิจารณาจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งกักเก็บน้ำ จำนวน 1,771 แห่ง ได้แก่ แหล่งน้ำชลประทาน 480 แห่ง ดังนี้ ฝายขนาดใหญ่ 3 แห่ง ประกอบด้วย เขื่อนวังยาง เป็นองค์ประกอบหนึ่งในโครงการโขง-ชี-มูล ซึ่งจะช่วย ยกระดับน้ำและ เก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำชี เป็นระยะทาง 90 กม. ซึ่งเก็บกักได้รวม 33.86 ล้าน ลบ.ม. ทำให้สามารถสูบน้ำช่วยเพื่อการเกษตรกรรม มีพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด 18,250 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด เขื่อนร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บ้านดอนวิเวก ต.พระธาตุ อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่ชลประทานในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด 36,888 ไร่ สถานีสูบน้ำพนมไพร (อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง) ตั้งอยู่ ต.กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่ชลประทาน 24,555 ไร่ เขื่อนยโสธร-พนมไพร ตั้งอยู่ ต.เขื่องคำ อ.เมือง จ.ยโสธร ลักษณะโครงการ คสล. มีบานระบายชนิดบาน Radial gate กว้าง 12.50 เมตร สูง 7.75 เมตร จำนวน 8 บาน ระดับเก็บกัก +126.00 กระจายน้ำ ด้วยระบบสูบน้ำจากแม่น้ำเข้าคลองส่งน้ำพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 84,000 ไร่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 12 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กประเภทอ่างและฝาย 297 แห่ง โครงการพระราชดำริ(ด้านแหล่งน้ำ) 17 แห่ง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 153 แห่ง พื้นที่โครงการ 398,919 ไร่ คิดเป็นพื้นพื้นที่ชลประทาน 313,151 ไร่ เพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้ง แหล่งน้ำธรรมชาติ 1,291 แห่ง ลำน้ำหลัก 3 แห่ง ได้แก่ แม่น้ำชี ลำน้ำยัง และ ลำน้ำเสียวใหญ่ ลำน้ำสาขา 38 แห่ง หนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ (เกิน 100 ไร่) 96 แห่ง แก้มลิง 108 แห่ง หนองน้ำและคลองธรรมชาติขนาดเล็ก 1,046 แห่ง และโครงการป้องกันอุทกภัย 2 แห่ง ได้แก่ พนังกั้นน้ำชี (โครงการทุ่งแซงบาดาล) ระยะทาง 60 ก.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 180,000 ไร่ พนังกั้นน้ำยัง ระยะทาง 24 ก.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 27,500 ไร่

ทั้งนี้ จังหวัดร้อยเอ็ด และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และโครงการสาเกตวากิว เป็นการบริหารจัดการน้ำที่พิจารณาโครงการจากแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัด เป็นโครงการที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้า สามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งการอุปโภค-บริโภค รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการทำเกษตรกรรม เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถนำน้ำมาใช้ได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังใช้ในการป้องกันและบรรเทาภัยแล้ง นับเป็นโครงการฯ ที่สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และทำให้สู่ความมั่งคั่งของเศรษฐกิจในชุมชน ก้าวสู่ความยั่งยืนในอนาคต อีกด้วย.

สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/ข่าว
0957579184
คมกฤช พวงศรีเคน/ภาพ