ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธาน เปิดงานวันดินโลก ปี 2561 “Be the Solution to Soil Polltion : ร่วมคิดร่วมทำแต่วันนี้ เพื่อปฐพีไร้มลพิษ” เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 5 ธันวาคม 2561เป็นวันดินโลก (World Soil DAy ) เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.61 เวลา 11.09 น. ณ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานวันดินโลก ปี 2561 “Be the Solution to Soil Polltion : ร่วมคิดร่วมทำแต่วันนี้ เพื่อปฐพีไร้มลพิษ” เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 5 ธันวาคม 2561เป็นวันดินโลก (World Soil DAy ) เพื่อสดุดีและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องในการพัฒนาการเกษตร โดยมีพระบรมราโชบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มประสทธภาพการผลิตทางการเกษตร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกระดับ โดยเฉพาะเรื่องดินและน้ำ มีนายธีร์รรัฐ ไชยเทพ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร สถาบันการศึกษาหมอดินอาสา เกษตรกร เข้าร่วมงานจำนวนกว่า 500 คน
นายธีร์รรัฐ ไชยเทพ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ กล่าวว่า วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรหาภูิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก อันสืบเนื่องมาจากสมัชชาประชาชาติ ได้ประกาศรับรองให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก (World Soil DAy ) เพื่อสดุดีและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องในการพัฒนาการเกษตร โดยมีพระบรมราโชบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มประสทธภาพการผลิตทาการเกษตร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทุกระดับ โดยเฉพาะเรื่องดินและน้ำ ซึ่งเป็นรากฐานของการเกษตร แต่ทรัพยากรดังกล่าวเกิดความเสื่อมโทรมอย่างมากจากการใช้ไม่ถูกวิธี ประกอบกับความเสียหายทางธรรมชาติ ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงตะหนักอย่างถ่องแท้ถึงความรุนแรง และอันตรายของความเสื่อมโทรมดังกล่าว จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการฟื้นฟูและพัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่พสกนิกร โดยทรงศึกษา วิจัย ทดลอง พัฒนา ทำให้เป็นแบบอย่างความสำเร็จ แล้วขยายผลให้เกษตรกรนำไปปฎิบัติ โดยวิธีการหรือแนวทางเหล่านั้น ล้วนเป็นวิธีการที่เรียบง่าย ประหยัด เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ อาทิเช่น การปลูกหญ้าแฝก
เพื่อการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและสร้างความชุ่มชื่นให้ผืนดิน การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดในภาคใต้ โดยวิธีการแกล้มดิน การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมที่เรียบง่ายในทางปฎิบัติแต่ล้ำลึกใทางวิชาการ และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงประทานพระราชดำริใหจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาในพื้นที่ที่ปัญหาเกี่ยวกับดิน เพื่อศึกษา ค้นคว้า หารูปแบบ ที่เหมาะสมของการแก้ปัญหาและพัฒาในแต่ละพื้นที่ ในลักษณะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการร่วมกันนอกจากนี้ทรงพระราชทานแนวคิดเกษตรทฤษฏีใหม่ ซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพอันลึกซึ้งและเป็นเลิศ ในการใช้ประโยชน์ที่ดินและน้ำทำการเกษตรตามแนวางผสมผสานที่เหมาะสมให้เกิดผลที่คุ้มค่า พอเพียง ต่อการดำเนินชีวิตของแต่ละครอบครัว ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท จากพระอัจฉริยภาพอันลำเลิศและพระรากรณียกิจอันหลากหลาย ด้านการพัฒนาที่ดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ทำให้เป็นประจักษ์และยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล สมาพันธ์สมาคมวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ จึงทูลถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม”แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูิพลอดุลยเดช บรนาถบพิตร เป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียวของโลก และสมัชชาสหประชาชาติได้รับรองให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันดินโลก ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมานายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในนามของหน่วยงานราชการ จึงขอยืนยันเจตนารมย์จะสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ โดยการน้อมนำพระราชดำรัส ดำเนินตามพระราชกรณียกิจ เพื่อรักษาประโยชน์ทรัพยากรดินและน้ำ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาเกษตรกรของไทยและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีเกียรติและมีความสุข ซึ่งพสกนิกร จะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาที่ดิน และตระหนักถึงความสำคัญของการที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินให้มีความอดุมสมบูรณ์ รวมทั้งช่วยกันเผยแพร่ ขยายผล ตลอดจนการนำศาสตร์พระราชาไปปรับใช้กับพื้นที่เกษตรในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเหมาะสม