Uncategorized ข่าว ร้อยเอ็ด

ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เดินหน้า ลงนาม บันทึกข้อตกลง (MOU) กับ จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการ “ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ
เดินหน้า ลงนาม บันทึกข้อตกลง (MOU) กับ จังหวัดร้อยเอ็ด โครงการ “ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”

วันจันทร์นี้ (2 ธันวาคม 2562) เวลา 14.00 น.*ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และนางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU) โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” กับ นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และนายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางนงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บ้านมหาดไทย/ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด นายมังกร ยนต์ตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมศักดิ์ เศษโฐประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ด นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด นางจิราพร เกษมทรัพย์ ประธานชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด นายธีระชัย แสนภูวา ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด นายอำนวย ระดาบุตร ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด นางจวงจิรา สุริยวนากูล นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ดร.สุมาลัย ศิริพานิช ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด นางสมปอง ว่องสัธนพงษ์ ประธานกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด นางรัชนี พลซื่อ หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด นายเจนเจตน์ เจนนาวิน นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ด นายธนิต พันธ์หินกอง นายอำเภอสุวรรณภูมิ

นายอภัย วุฒิโสภากร นายอำเภอเสลภูมินายชรินทร์ ภู่ชัย นายอำเภอธวัชบุรี นายวัลลพ จินดาเงิน นายอำเภอโพนทองนายสุเทพ พิมพ์พิรัตน์ นายอำเภอพนมไพร
นายณรงค์ศักดิ์ สบาย นายอำเภอเกษตรวิสัยนายเริงวิทย์ ถนอมแสง นายอำเภออาจสามารถ นายคงคา ชื่นจิต นายอำเภอปทุมรัตต์นายประพันธ์พงษ์ โสภารัตน์ ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอจตุรพักตรพิมาน นายสมหวัง วงศ์คำ ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอโพธิ์ชัย นายวิธรัช รามัญ นายอำเภอหนองพอก นางละอองเพชร พุฒิพัฒน์พาณิชย์ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอศรีสมเด็จ ว่าที่ร้อยตรีอานพ ศรีบุญลือ นายอำเภอจังหาร นายเอกโอสถ รักเอียด นายอำเภอทุ่งเขาหลวง นายวิเชียร สุดาทิพย์
นายอำเภอเชียงขวัญ นายอภิชาติ อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเมืองสรวง ว่าที่ร้อยตรีอดุลเดช หมี่นวิชาชัย ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) รักษาราชการแทนนายอำเภอโพนทราย นายวีระพงษ์ โคตรพงษ์ นายอำเภอเมยวดี ร้อยตำรวจเอกหญิง อรุณี อินทรมณี นายอำเภอหนองฮี นางสาวศันสนีย์ ทาสม ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นางนวลจันทร์ ศรีมงคล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมลงนาม การรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มองค์กรสตรี กลุ่มอาชีพทอผ้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ของจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมจำนวน 400 คน ทั้งนี้ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมอันลือชื่อของจังหวัดร้อยเอ็ด มากกว่า 13 ราย เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทอผ้า และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยจัดกิจกรรม ณ ห้องประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

***ดร.วันดี กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันปีหลวง ต่อปวงสตรีและปวงชนชาวไทย ที่ได้ทรงมีพระวิริยะ พระปรีชาชาญ พลิกฟื้นผ้าทอไทยทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ให้ผ้าไทยเป็นที่นิยมในสังคมจวบจนปัจจุบัน ได้สร้างงาน สร้างอาชีพทอผ้าแก่สตรีทั่วทุกภูมิภาค หากว่าคนไทยครึ่งประเทศ จำนวน 35 ล้านคน ได้ร่วมกันใส่ผ้าไทยทุกวัน เฉลี่ยซื้อผ้าไทยเพียง 10 เมตรต่อคน จะก่อให้เกิดความต้องการผ้าไทยถึง 350 ล้านเมตร ในราคาเมตรละ 300 บาท จะเกิดการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นการสร้างงาน สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตจากระดับครอบครัวถึงชุมชนอย่างยั่งยืน

***ดร.วันดี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการอนุรักษ์ รณรงค์การสวมใส่ผ้าไทยในทุกๆวันกับกรมการพัฒนาชุมชนและขยายผลไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นการใส่ผ้าไทยในทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชน จะนำมาซึ่งความสามารถในการพึ่งตนเองและเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้คนในจังหวัดร้อยเอ็ด มีคนที่สามารถทอผ้าได้เป็นจำนวนนับหมื่นคน ดังนั้นถ้าทุกคนได้ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย แต่ละคนจะได้ซื้อผ้าไทย ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าได้มีรายได้จากการทอผ้า ทำให้ครอบครัวอบอุ่น สร้างชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืน

***ในการนี้ มีนางนวลจันทร์ ศรีมงคล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ขึ้นชื่อของประเทศไทย ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดเจดีย์ชัยมงคล อำเภอหนองพอก เจดีย์หินทราย มีบึงพลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ที่ใหญ่สวยและสมบูรณ์ที่สุดของ ประเทศไทย อยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ผาหมอกมิวาย จุดชมทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามน้าตกถ้ำโสดา มีผลิตภัณฑ์ และสินค้า OTOP โดดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหมสาเกต ถั่วป่านทอง และอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีสมมาน้ำ คืนเพ็งเส็งประทีป และประเพณีบุญผะเหวด โดยผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด คือ ผ้าสาเกต ผ้าไหมลายสาเกต หมายถึง ผ้าไหมที่ประกอบด้วยลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้นำเอาลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่นิยมทอในกลุ่มชนที่อยู่ในเมืองร้อยเอ็ด มาทอต่อกันในผ้าผืนเดียวกันเปรียบเสมือนเป็นการหลอมรวมความสามัคคีของชาวร้อยเอ็ดให้เป็นหนึ่งเดียว โดยแต่ละลายจะทอคั่นด้วยผ้าสีพื้นสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่ประกอบในผ้าสาเกต ได้แก่ ลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายหมากจับ ลายค้ำเพา ลวดลายทั้ง 5 ลายนี้ ได้นำมาประยุกต์ไว้ในผ้าผืนเดียวกันและได้มีการประกาศชื่อลายนี้คือ ลายสาเกต เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด มายาวนาน เป็นระยะเวลา 18 ปี
##########

ศรีไพร ทูลธรรม/รายงาน