จากการณีคลิปเสียงสนทนาระหว่าง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กับ คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โครงการจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องช่วยหัวใจ งบประมาณ รวม 13 ล้านบาท ซึ่ง นายเศรษฐษา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้อนุมัมติเป็นให้จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการจัดซื้อโดยมีวัตถุประสงค์ จากปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ ซึ่ง ค.ร.ม. ได้อนุมัติวงเงินให้ 45 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 และนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มอบให้ นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเจ้าภาพจัดซื้อจัดจ้าง รวม 10 โครงการ จาก 7 โรงพยาบาล และมีการตั้งคณะกรรมการจดซื้อจัดจ้าง แยกตามความต้องการของแพทย์ผู้ใช้ แต่เฉพาะโรงพยาบาลกาฬสินธุ์แห่งเดียวกับไม่ได้รับการอนุมัติ จนมีคลิปสนทนาหลุดกลายเป็นคลิปอือฉาวที่สะเทือนวงการสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ และชาวบ้านได้เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง
2 ตุลาคม 2567 รายงานล่าสุดเมื่อวานนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.ศักดา อัลภาชน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยได้มอบหมายให้ นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 7 เป็นประธานในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง เบื้องต้น พบว่า นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งถูกระบะว่าเป็นเจ้าของคลิปเสียงเจรจาในคลิปได้ย้ายออกจากพื้นที่ตามคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายปกติก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ต้องกังวนเรื่องที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานต่างๆ ปัจจุบัน คนที่ย้ายเข้ามาใหม่ คือ นพ.ทวีรัชต์ ศรีกุลวงศ์ เป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ คนใหม่ ทำให้วันนี้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ จึงสาระวนเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่คาดว่าจะมาในไม่กี่วันนี้ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ คนใหม่ ก็ได้ประชุมหัวหน้ากลุ่มงานและปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ขณะเดียวกันที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ก็ได้เตรียมที่จะชี้แจงต่อคณะกรรมการเช่นกัน
ทั้งนี้จากการตรวจสอบไทม์ไลน์งบประมาณนี้ คืองบจัดสรรพิเศษของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นที่ได้ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ได้รับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชนและส่วนราชการ จึงมีการเสนอของบประมาณตรงต่อนายกรัฐมนตรี และ ค.ร.ม.อนุมัติ จัดสรรให้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 และได้แจ้งเป็นหนังสือถึง นายสนั่น พงษ์อักษร ผวจ.กาฬสินธุ์ จากนั้น ผวจ.กาฬสินธุ์ ได้มอบหมายให้ นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ รับผิดชอบดำเนินการ มีการสั่งการให้โรงพยาบาลที่ร้องขอได้ตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง รวม 6 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสมเด็จ โรงพยาบาลยางตลาด โรงพยาบาลฆ้องชัย โรงพยาบาลร่องคำ โรงพยาบาลกมลาไสย และ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งได้ขอจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามความต้องการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลน อาทิ เครื่องเอกซเรย์ เตียงผ่าตัด เครื่องดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ
ขณะที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้ขอจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์สำหรับผ่าตัดจุลศัลยศาสตร์แบบขั้นสูง พร้อมกล้องผู้ช่วยและระบบบันทึกภาพ ราคาวงเงิน 10 ล้านบาท จำนวน 1 เครื่องและเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ชนิดความคมชัดสูงไม่น้อยกว่า 2 หัวตรวจจำนวน 1 เครื่องในวงเงิน ราคา 3 ล้านบาท ซึ่งโรงพยาบาลเกือบทั้งหมด ได้รับการอนุมัติ ยกเว้นแต่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจาก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ยังไม่อนุมัติให้จัดซื้อ โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์นายแพทย์สาธารณสุขต้องการให้ซื้อแบบที่ไม่ต้องมีฉีดสี แต่ให้จัดซื้อในงบประมาณราคาเท่าเดิมคือ 10 ล้านบาท จึงทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้างไม่ยอมที่จะลดสเปกอุปกรณ์ จึงได้มีการเข้าไปพูดคุย และปรากฏออกมาทางโซเชียล ตามบทสนทนาดังกล่าวที่ปรากฏในเพจดัง ส่วนใครเป็นคนอัดคลิปนั้นยังไม่รู้เพราะในวันที่เข้าไปคุย มี แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 2 คน และมี ฝ่ายพัสดุ และเลขา สสจ.กาฬสินธุ์ และนายแพทย์สาธารณสุข รวม 5 คน เท่านั้น
แหล่งข่าวแจ้งว่าปัญหานี้ได้สร้างความหวั่นไหวต่อคนในวงการสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากยังปรากฏหลักฐานในการประกาศของระบบอิเลคทรอนิกเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ที่มีการขึ้นประกาศไปแล้วแต่ได้ถูกยกเลิกโครงการใน วันที่ 24 กันยายน 2567 โดยไม่มีคำชี้แจงใดๆเกี่ยวกับปัญหาการยกเลิกโครงการ ขณะที่อีก 8 โครงการของโรงพยาบาลอำเภออีก 5 แห่งไม่ถูกยกเลิกปรากฏสถานะโครงการทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ข้อสังเกตที่สำคัญจึงตกอยู่ที่เหตุของการยกเลิกโครงการว่าสาเหตุใดโครงการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จึงถูกยกเลิก เพราะเครื่องมือชิ้นนี้ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เคยขอไปยังกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 6 ปีก่อน แต่ก็พึ่งจะได้รับความอนุเคราะห์จาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในปีนี้
ทั้งนี้หากมีการจัดซื้อได้จริง ด้วยศักยภาพแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ก็จะสามารถรักษาผู้ป่วยที่จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนสูงสุด ดังนั้นปัญหานี้ จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชนคนกาฬสินธุ์ได้อย่างไร ขณะที่บางกระแสข่าวว่างบประมาณที่ว่านี้ยังไม่มีเงินจัดส่งมา แต่ในทางกลับกันในด้านระบบการจัดซื้อจัดจ้างก็พบว่าการประกาศจัดซื้อจัดจ้างปรากฏเลขรหัสโครงการที่ชัดเจน หากไม่มีงบประมาณหน่วยงานที่รับผิดชอบจะสามารถดำเนินการประกาศเชิญชวนหรือดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่าง การที่ทำให้งบประมาณที่สำคัญและเป็นเงินแผ่นดินภาษีของประชาชนจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องพิสูจน์เพื่อหาความยุติธรรมต่อไป