2 สิงหาคม 2567 ดร.อุปกรณ์ ดีเสมอ ประธานเครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด นายยงพันธ์ พันธ์ดงยาง รองประธานเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด นำคณะกรรมการรวม 6 ท่านลงพื้นที่เพื่อติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำต้นแบบเครือข่ายปป.ป.ช.ภาคประชาสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 19 คน สองอำเภอได้แก่ อำเภอเสลภูมิและอำเภอทุ่งเขาหลวง เพื่อเฝ้าระวังสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หลังผ่านการฝึกอบรม เมื่อ 23-24 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา กรรมการประกอบด้วย นายยงพันธ์ พันธ์ดงยาง รองประธานฯ,ดร.ทักษิณ สิทธิศักดิ์,นายวิทวัช บุญทา,นายสุดใจ สุทธิรันดร์,นายสมนึก บุญศรี,และนายคมกฤช พวงศรีเคน กรรมการ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กองทุนฯป.ป.ช. และ ป.ป.ช.จังหวัดร้อยเอ็ด
เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชาคม บ้านท่าเยี่ยม ม.5 ตำบลวังหลวง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ผู้นำต้นแบบเครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม ตำบลวังหลวง จำนวน 14 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปงานการลงพื้นที่บ้านท่าเยี่ยมในการเฝ้าระวังสาธารณะประโยชน์
โดยมีการเปิดประชาคมชาวบ้าน นำโดย นายธงสิน ธนกัญญา ประธานฯกลุ่มผู้เดือดร้อน นายณรงค์ เจริญ เลขาฯ คือ ฝายแกนดินซีเมนต์ กั้นแม่น้ำยัง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมหน้าน้ำหลาก ที่เคยกัดเซาะพนังกั้นน้ำขาด ทำให้น้ำยังไหลท่วมบ้านเรือน ไร่นาเสียหาย จำนวนมากที่ผ่านมา มาครั้งนี้เป็นการเรียกร้องให้แก้ไขฝายชะลอน้ำ ฝายแกนดินซีเมนต์ที่พังให้ใช้งานได้ดังเดิม โดยทางจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดทำฝายกั้นน้ำแกนดินซิเมนต์กั้นลำน้ำยัง ตรงบ้านท่าเยี่ยม เพื่อควบคุมน้ำให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อที่นาหลายพันไร่ ของ 10 หมู่บ้าน ตอนบนยาว 13 กม. ในการทำนาปรังนาปี แต่ปรากฏว่าหลังสร้างเสร็จเมื่อ 24 มีนาคม 2567 ผ่านมาถึง 4 เดือน ฝายได้ถูกน้ำกัดเซาะพังลงมา ซึ่งพังมานานแล้ว จนใช้การไม่ได้ สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรที่เคยทำนาได้ผล แต่ไม่มีฝายกั้นน้ำไว้ทำนาได้ จึงตั้งข้องสังเกตไว้ให้คณะกรรมการเครือข่ายฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ช.ร้อยเอ็ด อปท. ส่วนราชการฯ มาแก้ปัญหาฝายแกนดินซิเมนต์ให้ใช้ได้ดีดังเดิม
ในช่วงบ่าย คณะกรรมการชุดเดิม ได้ลงพื้นที่อำเภอทุ่งเขาหลวงเพื่อเฝ้าระวังสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ของผู้นำต้นแบบฯ จำนวน 5 คน โดยผู้นำต้นแบบได้ตั้งข้อสังเกตุการเฝ้าระวังสาธารณะประโยชน์ ในพื้นที่ คือ การสร้างเสาไฟฟ้าส่องสว่างบนถนนสายหลักของบ้านมะบ้า ม.3 ต.บึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด สร้างมาแล้วนานยังไม่แล้วเสร็จ อยากเร่งให้สร้างให้เสร็จในเร็ววันเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรไปมาของชาวบ้าน และ ตั้งข้อสังเกตุของการสร้างถนนสายเชื่อมระหว่างสองหมู่บ้าน ที่ลาดยางแอสฟัลท์ทับบนถนนคอนกรีตเดิม อย่างรีบเร่งกลัวจะไม่ทนทาน สร้างปัญหาต่อมาได้ จากนั้นคณะกรรมการได้สรุปถึงบทบาทหน้าที่ของ ผู้นำต้นแบบฯ ว่าเราไม่มีหน้าที่มาจับผิด เพี่ยงแต่เรามาตั้งข้อสังเกตเพื่อผลประโยชน์ของชาวบ้าน ตามที่ กองทุนฯป.ป.ช.และ ป.ป.ช.ร้อยเอ็ดได้กำหนดหน้าที่มา
สมนึก บุญศรี รายงาน