ข่าวเชียงใหม่

เตรียมลื้อรีสรอท์ธรรมชาติอ่างขาง

อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
นายสำราญ แสงสงค์ ข่าว
3-4-62-เตรียมลื้อรีสรอท์ธรรมชาติอ่างขาง
4 เมษายน 2562 เวลา 08.00 น
ที่โครงการหลวง ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง
ประชุมติดตามเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และเป็นประธานในพิธีรับมอบรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โดย พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการหลวง เดินทางไปร่วมประชุมติดตามงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้เป็นไปตามพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสืบสาน รักษา ต่อยอด การดำเนินงานตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และนโยบายของคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง รวมทั้งเป็นประธานการลงนามและรับมอบรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยสำคัญของโครงการหลวง ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อพ.ศ. 2512 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชประสงค์ให้เป็นสถานีวิจัยและพัฒนาพืชผลเขตหนาวทดแทนฝิ่น ดำเนินการฟื้นฟูสภาพพื้นที่แห้งแล้งให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ ในการประชุมติดตามงาน ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางครั้งนี้ องคมนตรีได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ของสถานีฯ อ่างขาง และหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชประสงค์เริ่มแรกของการก่อตั้งมูลนิธิโครงการหลวง คือ ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม ช่วยชาวไทย โดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กำจัดการปลูกฝิ่น รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง โดยให้ป่าอยู่ในส่วนที่เป็นป่า ทำไร่ทำสวนในส่วนที่ควรเพาะปลูก

สถานีฯ อ่างขาง จึงนับเป็นต้นแบบของการวิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูง ผลสำเร็จจากงานวิจัยตลอดระยะเวลาดำเนินงาน 50 ปี มีมากกว่า 850 โครงการ ประกอบด้วย พันธุ์พืชและสัตว์ 512 ชนิด 1,496 สายพันธุ์ และในปี พ.ศ. 2561 จนถึง พ.ศ. 2562 ยังมีงานวิจัยใน 6 ประเภท ได้แก่ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ป่าไม้ บอนไซ และพืชอื่นๆ รวม 21 โครงการ ที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาต่อยอดการวิจัยให้ได้ชนิดและสายพันธุ์พืชที่หลากหลาย เหมาะสมต่อการปลูกในพื้นที่สูงของประเทศไทย อาทิ โครงการปรับปรุงพันธุ์พีชและเนคทารีน โครงการปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์สตรอว์เบอร์รี โครงการศึกษาสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ปลูกป่าสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นต้น ผลสำเร็จจากการวิจัยที่ผ่านมาได้ส่งเสริมสู่เกษตรกรชาวเขา เผ่าลาหู่ ดาราอั้ง จีนยูนนาน และไทยใหญ่ รวม 4 หมู่บ้านโดยรอบสถานี จำนวนประชากรในพื้นที่ดอยอ่างขางที่ได้รับประโยชน์รวม 5,808 คน มีรายได้มากกว่าการปลูกฝิ่นในอดีตหลายสิบเท่า และดำรงชีพอย่างเป็นสุขในปัจจุบัน นอกจากนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังได้นำผลงานวิจัยเหล่านี้ส่งเสริมสู่เกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ และขยายไปยังพื้นที่สูงอื่นของประเทศไทยอีกด้วยหลังจากประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขางแล้ว องคมนตรียังได้เป็นประธานลงนามการรับมอบรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางคืน ให้ทำการลื้อถอนแล้วฟื้นฟูพื้นที่กลับสู่ธรรมชาติ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์การก่อตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมีแม่ทัพภาคที่ 3 อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ นายอำเภอฝาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมในพิธี พร้อมทั้งสำรวจบริเวณโดยรอบรีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง เพื่อวางแผนการฟื้นฟูพื้นที่คืนสู่ธรรมชาติในลำดับต่อไป การดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาถึง 50 ปีของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เกิดผลงานวิจัยที่หลากหลาย สร้างอาชีพและความอยู่ดีกินดีแก่เกษตรกรชาวเขามากมาย และกำลังพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สูง “อ่างขางโมเดล” โดยนอกจากการวิจัยและพัฒนาอาชีพแล้ว มูลนิธิโครงการหลวงยังให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยจัดระเบียบการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเหมาะสม เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน เกิดประโยชน์ทั้งแก่ชาวเขา ชาวเรา และชาวโลก ในการรื้อถอนรีสรอท์ธรรมชาติอ่างขางจะใช้กำลังและเครื่องจักรของทหาร และของเอกชนบางส่วน ให้ทำการทำบัญชีวัสดุครุภัณฑ์ แล้วทำการรื้อถอนคาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 เดือนแล้วเสร็จ
คิวภาพ-ร่วมประชุมพัฒนาโครงการส่งเสริมชาวเขาในการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนฝิ่น-ร่วมลงนามรับและมอบรีสรอท์ธรรมชาติอ่างขาง –ตรวจรีสรอท์เพื่อรื้อถอน-อุปกรณ์รื้อถอน-ชมสวนเจ้านาย-พืชเการัดญี่ปุ่นที่พระเจ้าอยู่หัว10 ปลูก-