มิติใหม่แห่งการรายงานข่าว หมอธนะพงศ์ จินวงษ์ จัดหนักบรรยายการรายงานข่าวในมิติและหัวใจของข่าว
ในอดีตเราจะรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนผ่านโทรทัศน์วิทยุหรือหนังสือพิมพ์เป็นหลักโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลสาธารณะอุบัติเหตุหมู่อย่างรถสาธารณะ รถนักเรียน ฯลฯ ซึ่งมักจะมีรูปแบบการนำเสนอที่เหมือนกัน คือ เกิดเหตุ กับใคร ที่ไหน เวลาใด ส่วนสาเหตุจะระบุตอนท้ายว่า “อยู่ระหว่างการสืบสวน” แต่เพื่อให้การนำเสนอข่าวที่น่าสนใจขายได้ ก็จะนำเสนอโดยเน้นภาพความเสียหาย ภาพผู้เสียชีวิต รวมทั้งการพาดหัวที่แฝงไปด้วยกลิ่นอายของ ความ อาถรรพ์ ปฏิหารย์ ซวย/โชคไม่ดี (สมควรแล้ว) รวมถึงเนื้อหาที่ตอกย้ำชี้นำหรือด่วนสรุปว่าเป็นเรื่อง “สุดวิสัย” ที่ป้องกันไม่ได้ อาทิเช่น หนุ่มเบญจเพสยางรถระเบิดเสียหลักชนต้นไม้ดับ เก๋งพุ่งตกคลองรอดปาฏิหาริย์ ฝนตกถนนลื่นชนรวด 7 คัน โจ๋ซิ่งชนเสาไฟฟ้าดับอนาถ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีประกันภัยที่กลายเป็นเครื่องมือแสดงความรับผิดชอบระหว่างคู่กรณี ดังวลีติดปากว่า “ไม่เป็นไรเดี๋ยวประกันมาเคลียร์” เมื่อผู้เสียหายหรือผู้เกี่ยวข้องถูกครอบงำด้วยระบบวิธีคิดเหล่านี้การได้รับเงินค่าชดเชยความเสียหายผ่านระบบประกันภัยอย่างรวดเร็ว “ถ้าไม่รีบจบ ต้องไปฟ้องร้อง เรื่องก็ยาว” ทำให้ไม่มีใครออกมาทวงถามถึง “ผู้ร้ายตัวจริง” (สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ) สุดท้ายเหตุการณ์และความสูญเสียจึงปิดคดีหรือจบลงด้วยคำว่า “ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บถึงแก่ความตาย”
เมื่อขาดการ “แสวงหาข้อเท็จจริง” ไม่รู้สาเหตุมีรากของปัญหา ส่งผลให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด เหตุการณ์เดิมๆ จึงเวียนกลับมาซ้ำซาก กลายเป็นวาทกรรมของสังคมไทยที่ต้องอยู่กับคำว่า “โค้งร้อยศพ แยกวัดใจ โค้งอาถรรพ์ รถเมล์ในตำนาน เป็นต้น” ในปัจจุบันแนวโน้มของเรื่องเหล่านี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนอกจากรับรู้ข้อมูลข่าวสารอุบัติเหตุทางถนนมีความรวดเร็วมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแหล่งข้อมูลและมุมมองที่หลากหลาย โดยเฉพาะ คลิปวีดีโอจากกล้องหน้ารถ โทรศัพท์มือถือ รวมถึงกล้อง CCTV และจุดเกิดเหตุเก็บทุกรายละเอียดของเหตุการณ์ ทำให้เกิดการนำเสนอรูปแบบและแชร์ต่อๆกัน บนสังคมออนไลน์ทั้ง Facebook LINE YouTube ส่งผลให้หลายเหตุการณ์ถูกนำมาพูดถึงและใช้เป็น “หลักฐาน” ในการประกอบเนินคดีหรือแก้ไขสาเหตุ อาทิเช่น เหตุการณ์ชนแล้วหนี การชน พ่อถูกตัดหน้าการชนซ้ำๆ ที่จุดเดิมๆ รวมไปถึงเหตุการณ์ความรุนแรงทะเลาะกันบนท้องถนน
ผลจากการรับรู้และมีส่วนร่วมของสังคมและความตื่นตัวต่อปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างรวดเร็ว และ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 พบว่าอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับ 3 รองจากปัญหาปากท้องและเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยกำลังมีความวิตกกังวลในเรื่องอุบัติเหตุหรืออีกนัยหนึ่งเป็นเรื่อง “ใกล้ตัว” ก่อนหน้านี้มีการสำรวจโดย Super poll เมื่อเดือนธันวาคม 2560 พบว่าเกือบทุกคน (ร้อยละ 98.3) “อยากทราบคำตอบของเหตุการณ์ซ้ำซากส่วนใหญ่” (ร้อยละ 92.2) เห็นว่า วิธีป้องกันและแก้ปัญหาขาดประสิทธิภาพมากกว่าเรื่องเวรกรรม เมื่อถามถึงการลงทุนแก้ปัญหาเรื่องนี้ อันดับหนึ่ง (ร้อยละ 55.4) ต้องการให้มีระบบตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน รอลงมาคือใช้เทคโนโลยีในในการใช้บังคับกฎหมาย (ร้อยละ 47.4)
อย่างไรก็ตาม มีการเกิดรับรู้และตื่นตัวกับเหตุการณ์อุบัติเหตุแต่ด้วยข้อจำกัดการตั้งคำถามและวิเคราะห์เจาะลึก ทำให้พฤติกรรมเสี่ยงที่เห็นในคลิป เช่น การขับรถเร็ว การจอดริมทาง การเปิดประตูรถไม่ดูรถคันหลัง การเดินข้ามถนน แล้วการใช้โทรศัพท์ เหตุการณ์เหล่านี้ถูกสรุปเพียง “ความประมาทของมนุษย์” โดยไม่ถามถึงที่มา ซึ่งอาจจะเกิดสภาพ/เงื่อนไขหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ต้องขับรถเร็วทำรอบ เพื่อให้ได้เงินค่าจ้างค่าตอบแทนที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
การสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน (Accident lnvestigation) เริ่มนำมาใช้มากขึ้น ทั้งสถานศึกษาหน่วยงานต่างๆ เช่น การศึกษาย้อนรอยอุบัติเหตุ(Accident Reconstruction)วิเคราะห์ “ผังการชน”(Collision diagram) เพื่อเห็นทิศทางการชน ควบคู่ไปกับตารางความสัมพันธ์ที่อธิบายองค์ประกอบระหว่าง คน-รถ- ถนน หรือสภาพแวดล้อม กับช่วงเวลาก่อน ระหว่างหลัง และเกิดเหตุ(Haddon s Matrix) ทำให้เห็นภาพรวมเรื่องราวที่เกิดขึ้น ประกอบการนำไปเป็นแนวทางในการกำหนด มาตรการเชิงป้องกันเครื่องมือและกระบวนการสืบสวนเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทราบสาเหตุปัญหาทั้ง คน-รถ-ถนน และสภาพแวดล้อม ดังกล่าวได้ว่าหัวใจของการรายงานข่าวเพื่อการเปลี่ยนแปลงวิเคราะห์การเกิดเหตุในมิติต่างๆ
รวมถึงการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนให้มีความยั่งยืนนำไปสู่การออกมาตรการป้องกันแก้ปัญหาประสิทธิภาพข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในลักษณะเดียวกันซ้ำๆ ซากๆ และในบทบาทของสื่อมวลชนนั้นถึงได้เป็นนักสืบสวนสามารถรวบรวมเก็บข้อมูลบันทึกสืบค้นวิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่เป็นเหตุหรือสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุแนวทางมนุษย์ปัจจัยซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์แนวโน้มความผิดพลาดจากความเป็นมนุษย์และสภาพอันตรายโดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการได้แก่คนการกระทำสภาพเงื่อนไขส่วนบุคคลและการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคนหรือผู้ประสบเหตุกับสภาพแวดล้อมที่เผชิญอยู่ซึ่งไม่ใช่สภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือด้านเทคโนโลยีเท่านั้นแต่รวมไปถึงสภาพแวดล้อมการกำกับดูแลและสภาพแวดล้อมในองค์การนอกจากนี้เพื่อให้เห็นมุมมองข้อผิดพลาดจากความรุนแรงในหลากหลายมิติอยากเป็นระบบควรมองให้ควบคุมทั้ง 3 ด้านอาทิเช่น
1.ด้านกระบวนการนึกคิดของมนุษย์และการทำงานร่วมกันของระบบมนุษย์เชิงบูรณาการ
2.ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
3.ด้านสังคมวัฒนธรรมองค์การ
รวมไปถึงแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนามาจากทฤษฎี Swiss cheese หรือทฤษฎีเนยแข็งอธิบายปัจจัยที่นำไปสู่อุบัติเหตุเชิงองค์การซึ่งมีการดำเนินงานหรือปฏิบัติที่ซับซ้อนโดยได้อธิบายบทความล้มเหลวหรือความผิดพลาดจากความเป็นมนุษย์ไว้ 4 ระดับได้แก่
1.อิทธิพลองค์การเมื่อสื่อสารการกระทำการละเลยไม่เห็นความสำคัญของนโยบายของผู้บริหารระดับสูงส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยทางอ้อมการกำกับดูแลสภาพเงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัยการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยทำให้ระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนเกิดความผิดพลาดนำไปสู่อุบัติเหตุหรือสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
2.การกำกับดูแลที่ไม่ปลอดภัยเมื่อวิธีการตัดสินใจนโยบายในการกำกับดูแลงานจราจรหรือการขับขี่ปลอดภัยส่งผลต่อแนวทางการขับขี่เงื่อนไขการกระทำของผู้ขับขี่ทำให้เกิดความผิดพลาดหรือสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยมีผลเมื่อผู้ขับขี่อยู่ภายใต้องค์กร
3.สภาพเงื่อนไขที่ไม่ปลอดภัยหนังสภาพที่ดำเนินอยู่หรือแอบแฝงก่อนเกิดเหตุเช่นนายดำเคยขับรถผ่านรากแต่ต้องไปส่งของทางชันส่งผลให้การกระทำผิดพลาดหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
4.การกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับขี่เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นการกระทำที่ผู้ขับขี่กระทำลงไปจนกลายเป็นความผิดพลาดก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
โดยเน้นว่าความล้มเหลว ระดับที่ 1 2 และ 3 แสดงตัวให้เห็นที่เกิดเหตุผู้ขับขี่
กฤตยชญ์ พิงคะสัน จังหวัดลำพูน เรียบเรียงข้อมูล