สสว.ร่วมกับมหาวิทยลัยมหิดล จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ดึงสตาร์ทอัพ 7 จว.ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมงานแสดงสินค้า “Early Stage Smart Expo 2019 ”
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดงานแสดงสินค้า “Early Stage Smart Expo 2019” ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการนำผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะจากโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early Stage) ปี 2562 ได้พบกับผู้ซื้อ
โดยตรงจึงจัดให้เหล่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME จาก7 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างนำสินค้ามาร่วมแสดงจำนวนมาก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค
โดยมี แพทย์หญิงมณฑกานต์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายมติชน มาตรชัยสิงห์ รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนายจารึก ดาดี ผู้จัดการบริหารพื้นที่ ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ร่วมพิธีเปิดงาน
แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงภาพรวมของการจัดงานในครั้งนี่ว่า
“ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีส่วนร่วมทำงานกับภาคส่วนต่างๆ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สอดคล้องกับพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน สังคม และหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาความรู้ และ
ทักษะในการทำงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยยึดหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership) เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวซ้องทุกฝ่าย (Mutual benefit) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship) และเกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social Impact)
ดังนั้น โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early Stage) ปี 2562 เป็นโครงการที่จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย ชัยนาท เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทำธุรกิจเป็น และค้าขายเป็น และนำไปสู่นวัตกรรมของผู้ประกอบการที่ยั่งยืนต่อไป
นายมติชน มาตรชัยสิงห์ รองผู้อำนวยการฝายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวถึงภาพรวมของการจัดงานในครั้งนี้ว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคการเกษตร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early – Stage) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการให้ยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยกระดับสู่ SMEs 4.0 และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง และการรวมกลุ่มกิจการในภาคเกษตร ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการจะดำเนินการพัฒนากลุ่มSMEs ทั่วไปและกลุ่ม SMEs ภาคการเกษตร ซึ่งกลุ่ม SMEs ทั่วไปจะดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการในการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการให้มีความสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าจากนวัตกรรมและการยกระดับธุรกิจ High Value และพัฒนากลุ่ม SMEs ภาคการเกษตรให้เรียนรู้แนวทางรูปแบบธุรกิจ Social Enterprise และจัดการธุรกิจภาคเกษตรเป็น Smart Farmer และการยกระดับธุรกิจ High Value และจัดทำแผนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเชิงลึกและนำผู้ประกอบการสู่การทดสอบตลาด เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และโครงการต่างๆของสสว.ต่อไป เชื่อมโยงหน่วยงานส่งสริมผู้ประกอบการในการให้องค์ความรู้ ให้คำปรึกษา การนำงานวิจัย นวัตกรรม และทคโนโลยีมาใช้ การลาดนำการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตตามความเหมาะสม อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้ประกอบการต่อไป
ทั้งนี้ ตามที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2560-2564 โดยบูรณการจัดทำแผนส่งเสริม SMEs ในการดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการให้ยั่งยืนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยกระดับสู่ SME 4.0 และสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและการรวมกลุ่มกิจการในภาคเกษตร ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายของโครงการจะต้องดำเนินการพัฒนากลุ่ม SMEs ทั่วไปและกลุ่ม SMEs ภาคเกษตรให้เรียนรู้แนวทางรูปแบบธุรกิจ Social Enterprise และจัดการธุรกิจภาคเกษตรเป็น Smart Farmer และการยกระดับธุรกิจ High Value โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการ SMEs ภาคทั่วไปจำนวน 300 ราย และ SMEs ภาคเกษตรจำนวน 700 ราย รวม 1,000 ราย ในพื้นที่ดำเนินการ 7 จังหวัด